ผลของการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน ต่อความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการเรียนรู้ โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานต่อความรู้ ความคงทนในการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน คัดเลือกโดยการจับสลากเข้ากลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนแบบบรรยายตามปกติหรือแบบดั้งเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการสอนแบบกรณีศึกษาเป็นฐาน แผนการสอนแบบบรรยายตามปกติ และเอกสารประกอบการสอน 2) แบบทดสอบ 3 ชุด สำหรับวัดความรู้ 3 ระยะ คือ ก่อนเรียน หลังเรียน และวัดความคงทนในการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการสอนแบบกรณีศึกษาเป็นฐาน แบบทดสอบมีค่าความยากง่าย 0.21- 0.80 และอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ขึ้นไป หาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดย KR-20 ได้ 0.85 0.85 และ 0.87แบบทดสอบได้ตรวจความเที่ยง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบประเมินความพึงพอใจต่อการสอนแบบกรณีศึกษาเป็นฐานได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา วัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measures ANOVA) และทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้หลังการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และทดสอบด้วยวิธีบอนเฟอร์รอนี่ เปรียบเทียบความรู้รายคู่ ของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ามีความรู้ และความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แต่พบว่ามีความรู้หลังเรียนสูงกว่าความคงทนในการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อเปรียบเทียบความรู้ และความคงทนในการเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ และความคงทนในการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด ส่วนรายข้อที่มีความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ การเฉลยข้อสอบ ส่วนความพึงพอใจน้อยคือการสอนแบบกรณีศึกษาเป็นฐานทำให้ใช้เวลามาก จึงสรุปว่า การสอนโดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความสนใจกระตือรือร้น ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้ และมีความพึงพอใจในระดับมาก จึงควรนำมาใช้ในการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาสุขภาพอื่น ๆ
Article Details
References
Bouchaud, M, Brown, D., Beth, A.,& Swan, B.A.(2017). Creating a new education paradigm to prepare nurses for the 21st Century. Journal of Nursing Education and Practice. Published: May2, DOI:10.5430/jnep.v7n10p27
Couto,T. B,, Farhat, S. C. L., Geis, G. L., Olsen, O., & Schvartsman, C. (2015). High-fidelity simulation versus case-based discussion for teaching medical students in Brazil about pediatric emergencies. Clinics(Sao Paulo). 70(6), 393–399. Available from https://www.ncbi.nlm.nih. gov/pmc/articles/PMC4462571/
Kantar, A. D. & Massouh, A.(2015). Case based learning: What traditional curricula fail. Nursing education today. 35 (8), 8-14.
Kulak, V., Newton, G., & Sharma, R. (2017). Does the Use of Case-based Learning Impact the Retention of Key Concepts in Undergraduate Biochemistry?. International Journal of Higher Education. 6(2),110-117. DOI: 10.5430/ijhe.v6n2p110
Kusoom, W. & Thongvichean, S. (2017). Developing critical thinking skill for nursing students. The Journal of Faculty of Nursing Burapa University. 25(3) Jul-Sep, 1-7(in Thai)
Kusoom, W. & Charuwanno, R. (2017). Concept mapping: An effective strategy for clinical teaching in nursing. Pacific Rim International Journal of Nursing Research. 22(4) Oct – Dec, 263-266.
LaMartina, K., & Ward-Smith, P. (2014). Developing critical thinking skills in Undergraduate nursing students: The potential for strategic management simulations. Journal of Nursing Education and Practice. 4(9), 155-161.
Official of The Education Council. (2017). Development Plan of National Education B.E. 2560-2579. Bangkok: Prikwarngraphics. A-F. (in Thai).
Popil, I. (2011). Promotion of critical thinking by using case studies as teaching method. Nursing Education Today. 31 (2), 204-207.
Promnoi, C., Promtape, N., Tasaneesuwan, S. (2013). Critical Thinking Ability among Senior Nursing Students Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.32(3):1-10.
Raurell-Torreda, M.,Olivet-Pujol, J., Romero-Collado, A.,Malagon-Guilera, M. C., Patino-Maso, J.,& Baltasa-Bague, A. ( 2015). Case-based learning and simulation: useful tools to enhance nurses’ education?. Journal of Nursing Scholarship. 47(1), 34-42.
Vogt, M. A. & Schaffner, B. H.(2016). Evaluating interactive technology for an evolving case study on learning and satisfaction of graduate nursing students. Nurse Education Practice Journal. 19, 79-83. doi: 10.1016/j.nepr.2016.05.006. Epub