เคอตี้ ตู้ แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและ ไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

Puvasa Ruangchewin

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและบ้านถวายจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนวิเคราะห์จุดเด่นด้านวัฒนธรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อค้นหาวิธีการและแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น


จากการศึกษาพบว่า ไม้แกะสลักบ้านถวายและบ้านซือเหอเป็นทักษะงานฝีมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงเอกลักษณ์ของประเทศหรือภูมิภาค นับตั้งแต่อดีต ไม้แกะสลักคือสิ่งที่สะท้อนและนำเสนอวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศาสนาของคนในท้องถิ่น ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์สูง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย และบ้านซือเหอยังคงประสบกับปัญหาทั้งในด้านความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์ ความหมายทางวัฒนธรรม เทคนิคการผลิตและการจัดจำหน่าย ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านซือเหอและบ้านถวายยังคงได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีและต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นต้องหามาตรการและแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นมาปรับใช้ และจากการศึกษาพบว่า 1. การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ได้แก่ การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมไม้แกะสลักและรวบรวมข้อมูลการศึกษาวิจัยด้านวัฒนธรรมไม้แกะสลักอย่างเป็นระบบ 2. การพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการแกะสลักไม้และสร้างหมวดหมู่ทางนวัตกรรมใหม่ให้กับไม้แกะสลัก 3. การส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1) การกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 2) การประชาสัมพันธ์ 3) นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในอุตสาหกรรม 4) การสร้างทีมงานช่างแกะสลัก 5) การสร้างแบรนด์ และ 6) การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมหัตถกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักเป็นอย่างสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ai Jia. (2012). Study on the Products of Jianchuan,Bai Nationality Wood Carving in the Process of Industrialization. Master degree of Yunnan University
Chen Jinsong. (2014). The Characteristic Folk Craft of Yunnan. Kunming: Yunnan university press. P.36-37
Li Lun. (2009). Research on the Development and Protection of Jianchuan Woodcarving in Yunnan Province.Journal of Public literature & art Press.Vol. 2009 (22) P.241-243
Sun Guangyong. (2011). “One Tambon One Product” Revitalize Thai villages. CHN. P.52
Wang Jingyou and HaoYunhua. (2009). An Investigation on the Development of Jianchuan Woodcarving Industry. Journal of Dehong Teachers' College
Wu Yang. (2007). The Rise of New Artistry and Its Enlightenment on the Promotion and Protection of Jianchuan Woodcarving. P.30
Yang Lili. (2006). Protection, development and utilization of Bai Nationality wood carvings. Journal of Kunming University of Science and Technology (Social Science Edition).Vol.6 (1). P.88-91
Yang Lili. (2006). Study of handicrafts and wood carvings art of Bai nationality in Jianchuan.Master degree of Yunnan University