บรรยวัสถ์ ประเสริฐวรชัย ธรรมาสน์ร่วมสมัย จากแรงบันดาลใจสวนศาสตร์ เพื่อวัดแบบอรัญวาสี สู่สัมพันธภาพ จิตรกรรมลายกำมะลอตามคติไตรภูมิ

Main Article Content

Puvasa Ruangchewin

บทคัดย่อ

ธรรมาสน์ร่วมสมัย จากแรงบันดาลใจสวนศาสตร์ เพื่อวัดแบบอรัญวาสี สู่สัมพันธภาพ จิตรกรรมลายกำมะลอตามคติไตรภูมิ เป็นงานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ เป็นการศึกษารูปแบบธรรมาสน์ลักษณะเดิมเพื่อนำมาพัฒนาธรรมาสน์ในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีรูปลักษณ์ และพัฒนาด้านการกังวานของเสียง โดยอาศัยหลักกระบวนการทฤษฎีทางสวนศาสตร์เพื่อตอบสนองกิจกรรมทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะวัดแบบอรัญวาสี เป็นการผสานวิธีการวิจัยระหว่าง วิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นสำคัญ โดยที่การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เอกสารหลักฐาน การเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบธรรมาสน์ในรูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ธรรมาสน์ให้มีความกังวานของเสียง และได้คุณภาพของเสียงโดยปราศจากการใช้ไฟฟ้า และเครื่องกระจายเสียง 2. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ธรรมาสน์ ให้มีความงามทั้งด้านสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม โดยสัมพันธ์กลมกลืนกับวัดแบบอรัญวาสี 3. เพื่อเสริมสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างศาสตร์ศิลปกรรม และสวนศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษา และเก็บรวบรวมทางข้อมูล นำมาวิเคราะห์จนได้แนวทางการออกแบบ และสร้างสรรค์ในผลงานวิจัยพบว่า ประโยชน์การใช้สอยของธรรมาสน์ และความงามของธรรมาสน์สามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้จริง มีความเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และได้รับผลการประเมินความพึงพอใจ ความสนใจจากผู้ใช้งาน (พระสงฆ์) และพุทธศาสนิกชนในชุมชนที่ร่วมในกิจกรรมฟังธรรมทางพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2547). สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับอักษรธรรมล้านนาและอักษรขอม. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ.
ไกรสร สมาพรหม. (2555). ไม้ที่นำมาทำตู้ลำโพงชนิดต่างๆ. เข้าถึงได้จากwww.tiggersound.com/
webboard/index.php?topic=160313.0
คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2537). ฟิสิกส์ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2561). เอกสารการสอนปฏิบัติการฟิสิกส์พื้นฐาน.
จตุพร ศิริสัมพันธ์, (2552). สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับอักษรขอม ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ.
จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์. (2540). ช่างสิบหมู่. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย.
ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ. (2557). เมืองเชียงใหม่ : ศิลปะ สถาปัตยกรรมและความเชื่อ. เชียงใหม่: ศุนย์ สถาปัตยกรรมล้านนา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชูศักดิ์ วงรัตนะ. (2541). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพนิมิตการพิมพ์.
ธรรมธร ไกรก่อกิจ. (ม.ป.ป.). เดซิเบลและความดัง. เข้าถึงได้จาก http://www.zen-acoustic.com/
decibel.html.
นวลน้อย บุญวงศ์. (2539). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิยม วงศ์พงศ์คำ. (2552). เปรียบเทียบคติความเชื่อและรูปแบบของธรรมาสน์ในภาคอีสานและนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. 5(1).
บัณฑิต อินทร์คง. (2557). ศิลปะลายรดน้ำและลายกำมะลอ : องค์ความรู้ ที่ไม่เคยสูญ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์, 1( 2), 168-185.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สักนักพิมพ์สุวีรียาสาสน์.
บริษัทสุพรีมไลนส์. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก www.supremelines.co.th.
ปรีชา เถาทอง. (2549). ป่าหิมพานต์ตามพระราชเสาวนีย์.
ปติสร เพ็ญสุต. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=patisonii
&%20group=45&page=3
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2553). พัฒนาสังคมไทยด้วยความรู้ ความเข้าใจไตรภูมิ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
พระมหาจรัญ ยาวินัน. (2549). ธรรมาสน์พื้นเมืองล้านนาในจังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์ศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2559). ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ : ‘มนังคศิลาบาตร’ หรือจะไม่ใช่ ‘มโน ศิลาอาสน์’ ?. เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_2003.
ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2559, มิถุนายน). หนังสือพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. มติชนสุด สัปดาห์, 6-12.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2425). ชีวิตไทย “ช่างสิบหมู่”. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
มาโนช กงกะนันท์. (2538). ศิลปะการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วรพรรณ หิมพานต์. (2542). แนวทางการจัดการวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการป่าไม้, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วัดป่าอัมพวัน. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก http://www.watpahampawan.com.
วิทย์พิณคันเงินและจุลทัศน์พยาฆรานนท์. (2536). ช่างไทยสิบหมู่. ฉบับของสมาคมศิษย์เก่าเพาะช่างพระนคร: โรงพิมพ์ ไทยเขษม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การเคลื่อนที่และพลังงาน. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้ พื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.
สำนักช่างสิบหมู่. (ม.ป.ป.). กลุ่มงานช่างเขียนและลายรดน้ำ. เข้าถึงได้จาก www.finearts.go.th/
traditionalart/2014-04-30-08-57-58/2014-05-02-01-48-43.html.
อมเรนทร์ บุณแต่ง. (2553). วาดเล่นๆ กับ จิดตระธานี. เข้าถึงได้จาก https://www.jitdrathanee.com/
Learning/khru/E06.htm.
______________. (2536). ประณีตศิลป์ไทย. กทม: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด,