การออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ กลุ่มชุมชนโคกสูงตะวันออก ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ กลุ่มชุมชนโคกสูงตะวันออก ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างต้นแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ กลุ่มชุมชนโคกสูงตะวันออก ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนโคกสูงตะวันออก ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คือ ลูกประคบสมุนไพร พิมเสนน้ำ สบู่มะขาม น้ำยาล้างจาน โดยพบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ยังขาดตราสินค้า ฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มความน่าเชื่อถือ จึงได้กำหนดแนวทางการออกแบบตราสินค้า ที่สามารถสร้างการจดจำ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ โดย วิเคราะห์การตั้งชื่อตราสินค้า และสโลแกนคือ Big Bua จากการโหวตของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งเกิดจากการเล่นคำ โดยมีที่มาจากชื่อของอำเภอบัวใหญ่ คำว่า “บัว” เขียนทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษคือ BUA และคำว่า “ใหญ่” เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Big ส่วนสโลแกน ใช้คำว่า High Herbs เพื่อสื่อถึงการใช้วัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพสูง แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสินค้า โดยเน้น ธรรมชาติ เรียบง่าย โดยร่างภาพ และออกแบบตราสินค้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จำนวน 3 แบบ หลังจากนั้นนำตราสินค้าไปประเมินความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 สามารถสรุปได้ว่า รูปแบบตราสินค้า แบบที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด จึงเลือกใช้ตราสินค้ารูปแบบที่ 2 และนำไปพัฒนาให้มีความเหมาะสมมากขึ้น การปรับปรุงแก้ไข การออกแบบตราสินค้า เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบที่สมบูรณ์ และนำตราสินค้าไปใช้ โดยทดสอบการออกแบบตราสินค้าและฉลากสินค้า จากผู้สนใจซื้อผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด ( = 4.75)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
นครราชสีมา. (เอกสารอัดสำเนา).
เจตนิพิฐ แสนสุข. (2550). การบริหารงานออกแบบนิเทศศิลป์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์. (2554). “การสร้างตราสินค้าของจังหวัดสมุทรสงคราม”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ทองเจือ เขียดทอง. (2535). ออกแบบนิเทศศิลป์ 2. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
วิชาการออกแบบนิเทศศิลป์. สถาบันราชภัฏสวนดุสิต (8-11 กันยายน 2535).
_________. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สิปประภา.
ประชิด ทินบุตร และคณะ. (2558). “การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์
เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.ประดิษฐ์.
วรรณรุจ มณีอินทร์. (2552). “ปัจจัยทางด้านรูปร่าง รูปทรง และสี ในการออกแบบตราสินค้า” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต การออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2549). การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุรจิตร จิตจำนงค์. (2556). แผนชุมชน : โคกสูงตะวันออก เทศบาลเมืองบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่
จังหวัดนครราชสีมา เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
เทศบาลเมืองบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ : จังหวัดนครราชสีมา.
Graves, M. (1951). The Art of Color and Design. 2nd,ed. New York : McGraw-Hill Company.
Phillip Kotler. (1984). “Marketing Professional Services”. Prentice Hall.