ห่อด้วยใจ ใหด้วยรัก…จากบรรจุภัณฑ์ญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้กล่าวถึงบรรจุภัณฑ์ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีความสวยงาม มีอัตลักษณ์ เฉพาะตนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะสินค้าของฝากที่เราพบเห็นตามแหล่งท่อง เที่ยว มีความสวยงามถูกใจผู้ซื้อ ทำรายได้เข้าประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเกิดการตั้งข้อสังเกตหาคำตอบที่มาของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวว่าอาจเกิดจากอุปนิสัย ความรู้สึกนึกคิด การ แสดงออกของคนญี่ปุ่นที่มีต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว ไว้ 5 แนวทาง คือ 1.ให้เกียรติ และเคารพผู้อื่น ทำให้การ ออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นเสมือนของขวัญ 2.รักในวัฒนธรรม วิถีชีวิต ชุมชนและความเป็นอัตลักษณ์ ที่โดดเด่นของตนเอง ทำให้เกิดการนำวัฒนธรรม ความเป็นอัตลักษณ์ในด้านต่างๆที่โดดเด่นมามี ส่วนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3.รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติและคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม 4. เอาใจเขามาใส่ใจเรา ดึงจุดเด่น เป็นจุดขายอย่างสร้างสรรค์ ทำให้งานออกแบบบรรจุภัณฑ์คำนึงถึงการใช้งานและมีจุดเด่นและจุด จดจำที่เป็นเอกลักษณ์ 5.รักความสะอาด มีระเบียบวินัย และปฏิบัติตนอย่างเรียบง่าย ทำให้บรรจุ ภัณฑ์มีระเบียบสะอาดตาน่าจับต้อง ทั้ง 5 แนวทางดังกล่าว สร้างบรรจุภัณฑ์แบบญี่ปุ่นที่สวยงาม โดดเด่น ที่ทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วนทั้งการบรรจุ คุ้มครองป้องกัน อำนวยสะดวกในการถือหิ้วและ ขนส่ง ตลอดจนความสวยงามอย่างมีอัตลักษณ์ที่จะดึงดูดใจผู้ซื้อด้วยการออกแบบที่เอาใจ เอา ความคิด และความรักใส่ในงานออกแบบบรรจุภัณฑ์สอดคล้องกับคำกล่าว “ห่อด้วยใจ ให้ด้วย รัก...จากบรรจุภัณฑ์ญี่ปุ่น” เป็นแนวทางในการศึกษาและนำไปปรับใช้กับงานออกแบบบรรจุ ภัณฑ์สินค้าของไทย ส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาเศรษฐกิจของเราได้อีกทางหนึ่ง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
เกตวดี Marumura. (2557). สุโก้ย! Marketing ทำไมใครๆก็ติดใจญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: มติชน.
คุมะมง. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561, จากวิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/คุมะมง.
โตเกียวบานาน่า จากผลไม้หายากสู่แบรนด์ขนมระดับโลก ฟันรายได้ 4 พันล้านเยนต่อปี. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561, จาก https://thestandard.co.tokyobanana/
นเร ขอจิตต์เมตต์. (2550). Packaing & Design เสกสรรปั้นแต่งบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.
แนวคิดในการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561, จาก http://valavadee.com/
บีโอไอ. (2553). บีโอไอศึกษาความเป็นเลิศของOVOPของญี่ปุ่นต้นฉบับOTOPของไทย. วารสารส่งเสริมการลงทุน, 21(12), 35-38.
ศิรินทรา บุญสำเร็จ, บรรณาธิการ. (2558). Heritage Food:China, Japan, Thailand and South Korea Perspective. Food Focus Thailand, 10(117), 31-32.
ศิรินทรา บุญสำเร็จ, บรรณาธิการ. (2560). ศิลปะออริกามิกับการดีไซน์บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม. Food Focus Thailand, 12(135), 72-73.
ศิลปะการห่อผ้าแบบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561, จาก http://www.majortraveller.com/
ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ. (2555). ลัดฟ้าหาเทคโนโลยี(บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม). ปทุมธานี: ไทยเอฟเฟค สตูดิโอ.
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. (2561). เสน่ห์เที่ยว เสน่ห์ไทย. กรุงเทพฯ: กิจไพศาลการพิมพ์และ ซัพพลายส์.ห่อของขวัญสไตล์ฟุโรชิกิ (Furoshiki). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2561, จาก https://educateparkjapan.wordpress.com/2011/12/29/furoshiki/
KitKat Ikinari Dango : คิทแคทช่วยโครงการฟื้นฟูจังหวัดคุมาโมโตะ. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561, จาก http://komachijp.com/food/15288.
Xian Qiaomei&Li Weiji. (2017). Creative Packaging Structures. Hong Kong: SendPoints.