แนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรินธร สีเสียดงาม

บทคัดย่อ

การวจิยัครงั้นมี้วีตัถปุระสงคเ์พอื่ 1) ศกึษาสภาพการจดัการเรยีนการสอนการปฏบิตัแิซก็โซโฟน               ในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร 2) สร้างแนวทางการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็ก โซโฟนในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร วิธีด�าเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการ วิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบสอบถามผู้สอน เรื่องสภาพการจัดการเรียน   การสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้สอนการจัดการเรียน การสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ในระดับอุดมศึกษา วิธีวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ 1) ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ข้อมูล เชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเปรียบเทียบข้อมูลและสังเคราะห์เป็นแนวทางการจัดการ เรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟนในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนการปฏิบัติแซ็กโซโฟน ในระดับ อุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉลี่ยอาจารย์ผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.6,  S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณาทั้ง 5 ด้าน พบว่ามีเพียง 1 ด้านที่ผู้สอนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (M= 4.47,  S.D. = 0.57)  2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนการ ปฏิบัติแซ็กโซโฟนแบ่งออกเป็น  5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การก�าหนดวัตถุประสงค์ ควรครอบคลุม ด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติแซ็กโซโฟน และมีเจตคติต่อการฝึกปฏิบัติแซ็กโซโฟน (2) เนื้อหาสาระ สามารถจ�าแนกออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ บทเพลง เทคนิค และความเป็นดนตรีในการปฏิบัติแซ็กโซ โฟน  (3) กิจกรรมการเรียนการสอนควรมุ่งเน้นพัฒนาการฝึกซ้อมในเรื่องบทเพลง เทคนิค และความ เป็นดนตรี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาต่าง ๆ ได้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นส�าคัญ (4) สื่อการเรียน การสอน ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ แบบฝึกหัดด้านเทคนิคต่าง ๆ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกฝน เว็ปไซด์ ซีดีเพลง เครื่องบันทึกเสียง และการตั้งกล้องเพื่อบันทึกการปฏิบัติของผู้เรียน รวมไปถึงสภาพ แวดล้อมของห้องเรียน และ (5) การวัดและการประเมินผล ควรมีวิธีการ ช่วงเวลา และเครื่องมือที่ใช้ การวัดและประเมินผลที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะดนตรีและการแสดง. (2557). หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปศึกษา. (2558). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. จินดามาตร์ มีอาษา. (2559). แนวทางการวัดและประเมินผลวิชาทักษะปฏิบัติแซ็กโซโฟน คลาสสิกระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรดนตรีของสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2554). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระส�าคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร:
ส�านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ต่อพงศ์ อุตรพงศ์. (2551). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนวิชาดนตรีปฏิบัติกีตาร์คลาสสิก กรณี ศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ดุริยางคศาสตร์สากล) มหาวิทยาลัยทักษิณ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. พิมพ์พิศ เพิ่มพูน. (2555). การน�าเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีในระดับประถม ศึกษาตามแนวทางของโรงเรียนนานาชาติที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยการดนตรี. (2560). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีตะวันตกศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สกุณา ประมายะยัง. (2556). การน�าเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนา เทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับ ส�าหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2554). การน�าเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีส�าหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.