ดอกโบตั๋น ดอกไม้มงคลจีนในงานศิลปะไทย

Main Article Content

Liu Shuwen

บทคัดย่อ

ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ดอกโบตั๋นได้อยู่คู่กับการดำรงชีวิตและกิจกรรมทางสังคมของ
ผู้คนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าด้านยารักษาโรคและยังมีคุณค่าด้านความงดงามอีกด้วย
สำหรับชาวจีนที่ชื่นชอบสัญลักษณ์สิ่งอันเป็นมงคลนั้น ลวดลายดอกโบตั๋นยังแสดงถึงความคาดหวัง
และการแสวงหาชีวิตที่มีความสุข ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและติดกับประเทศจีน
เป็นศูนย์รวมทางศาสนา วัฒนธรรม และกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลายของพื้นที่เอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ นับถือศาสนาพุทธเถรวาทเป็นหลัก พุทธศิลป์และมัณฑนศิลป์ในพระราชวังนั้นได้ประกอบ
เป็นรูปแบบศิลปะที่สำคัญของไทย ในฐานะที่เป็นประเทศที่มีคนจีนอาศัยอยู่มากที่สุดในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ คนจีนเริ่มได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา และ
ด้วยความที่ไทย-จีนมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนาธรรมมายาวนานนับพันปี ศิลปวัฒนธรรมไทยได้
แสดงออกถึงความพิเศษของวัฒนธรรมจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขามัณฑนศิลป์ เราสามารถเห็น
ได้อย่างชัดเจนว่าดอกไม้ยอดนิยมในแผ่นดินจีนที่ไม่ใช่ดอกไม้เขตร้อนอย่างดอกโบตั๋น ดอกกุหลาบ
หนู ได้ถูกนำมาประดับตกแต่งในวัดวาอาราม สถาปัตยกรรม ภาพวาด และเครื่องใช้ต่าง ๆ ของไทย
และในแง่สัญลักษณ์สิ่งอันเป็นมงคลของ “ดอกโบตั๋น” ก็ได้ถูกเผยแพร่ออกไปยังเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้และได้หยั่งรากลงในการดำรงชีวิตของคนไทยมานาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ