จิตรกรรมฝาผนังล้านนาสู่จิตรกรรมร่วมสมัยสะท้อนวิถีชีวิตไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง จิตรกรรมฝาผนังล้านนาสู่จิตรกรรมร่วมสมัยสะท้อนวิถีชีวิตไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ตีความ จิตรกรรมฝาผนังของล้านนา รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่มีลักษณะเฉพาะตนและสร้างผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยที่สะท้อนวิถีชีวิตไทย
กระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปศิลปะแบบร่วมสมัย โดยใช้เทคนิคสีอะคริลิค (Acrylic) บนผ้าใบ (Canvas) เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจจากการศึกษาจิตรกรรมฝาผนังล้านนา โดยมีเนื้อหาที่สะท้อนการดำรงชีวิต ความอบอุ่น การพึ่งพาอาศัยและความสุข โดยนำเอาวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนามาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจิตรกรรมฝาผนังล้านนา ทั้งในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และประเพณีอันดีงาม มาพัฒนาในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความเป็นร่วมสมัย โดยการนำเอาศิลปะตะวันตกและตะวันออกมาผสมผสานเพื่อให้เกิดศิลปะรูปแบบใหม่ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน โดยในการสร้างผลงานที่มีเนื้อหาที่สื่อถึงความสุข ความสนุกสนานของผู้คนที่ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ความอบอุ่นของผู้คนที่แสดงออกผ่านสีหน้าท่าทางอารมณ์ความรู้สึกใบหน้าที่ยิ้มแป้น สื่อให้เห็นถึงความรู้สึกที่บริสุทธิ์ภายในจิตใจการสื่อสารของผู้คนที่ตรงไปตรงมาทั้งท่าทางและอารมณ์บริบทของสังคมล้านนานั้นถือเอาความเชื่อประเพณีเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติในการสร้างศีลธรรม ให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในสังคมเป็นอย่างดี
ผลการสร้างสรรค์แสดงออกถึงความสุขสนุกสนานความอบอุ่น ได้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของไทยที่สืบต่อกันมาโดยแสดงให้ถึงความสุขผ่านทางใบหน้าของผู้คนและองค์ประกอบที่แสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่ทำให้เห็นถึงการผสมผสานของเส้น สี รูปทรง น้ำหนักและความกลมกลืนของรูปทรงและเนื้อหาช่วยถ่ายทอดให้งานเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่สนุกสนาน โดยถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของคนไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
ฉัตรสุรางค์ แก้วเป็นทอง. (2556). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัด ภูมินทร์กับจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวจังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ศิลปะมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบศิลป์(พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
ภาณุพงษ์ เลาหสม. (2541). จิตรกรรมฝาผนังล้านนา. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. สืบค้น 15 ธันวาคม 2562, จาก : http://www.culture.go.th/culture_th/article_attach/publication.pdf
เกรียงไกร เมืองมูล. (2556). ประวัติความเป็นมา จิตรกรรมฝาผนังล้านนา(Lanna Mural Painting) . สืบค้น 2 มกราคม 2563, จาก : http://culture.mome.co/muralpainting/