พิพิธภัณฑ์ : แหล่งการเรียนรู้ในภาวะการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัลกับฐานวิถีชีวิตใหม่

Main Article Content

เอกวิทย์ โทปุรินทร์

บทคัดย่อ

พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งการเรียนรู้สำคัญมีวิธีคิดเริ่มต้นเกิดจากการรวบรวมหลักฐานวัตถุที่เป็นเนื้อหาเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องกันมาไว้ในแหล่งเดียวกัน เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าแล้วจึงนำมาเผยแพร่ สู่สาธารณชน ในยุคเริ่มต้นเน้นการแสดงการจัดวางของหลักฐานวัตถุเนื่องจากการเข้าถึงในยุคก่อนนั้นยังมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดแสดงรวมถึงการส่งผ่านเนื้อไปยังผู้ชมค่อนข้างจำกัด ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศพึ่งเกิดขึ้นมาในภายหลัง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นยังมีข้อจำกัดทั้งการส่งผ่านและการเข้าถึงข้อมูล ทำให้การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในยุคก่อนจึงเป็นลักษณะของการเข้าถึงโดยผู้เรียนหรือผู้ชมต้องเดินทางเข้าไปยังแหล่งดังกล่าวด้วยตนเอง ซึ่งมีความแตกต่างจากยุคปัจจุบันอย่างชัดเจนที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่งผ่านข้อมูลที่มีความรวดเร็วทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้โดยง่ายทั้งอุปกรณ์แบบมือถือหรืออุปกรณ์แบบตั้งโต๊ะ ส่งผลให้ข้อจำกัดในการเข้าถึงจากระยะทางและระยะเวลาลดลงทำให้ภาพจำของแหล่งการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันแตกต่างจากยุคก่อนอย่างชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องส่งผลโดยตรงต่อแหล่งการเรียนรู้ ทั้งรูปแบบการแสดงเนื้อหา การเข้าถึงเนื้อหา ตลอดจนกระบวนการบริหารงานพิพิธภัณฑ์จนเกิดภาวการณ์เปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล (digital disruption) ต่อความคุ้มทุนในการพัฒนาในส่วนของโลกความเป็นจริง (real world) กับโลกความเป็นจริงแบบผสม (Mixed Reality : MR) ที่เริ่มมีการสอดรับกับความต้องการของผู้ชมที่มีความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการรับข้อมูลอันเนื่องมากจากภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) จนเกิดฐานวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคมกับหลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่ชุมชน ซึ่งเป็นความท้าทายของพิพิธภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการเป็นแหล่งการเรียนรู้แบบเปิดสำหรับผู้เข้าชมทุกกลุ่ม มีกระบวนการถ่ายทอดเนื้อจากแบบเดิมที่ต้องให้ผู้เข้าชมเป็นผู้เข้าถึงแหล่งเนื้อหาด้วยตนเองมาเป็นพิพิธภัณฑ์ต้องเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานที่สามารถตอบโจทย์ของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคได้ แต่ก็สร้างโจทย์ใหม่สำหรับความสัมพันธ์ของพิพิธภัณฑ์กับผู้เข้าชม ชุมชน และสถานศึกษาที่เริ่มมีระยะห่างระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ในปัจจุบันนั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ราชบัณฑิตยสภา. (2562). digital disruption การเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://www.facebook.com/RatchabanditThai/photos/digital-disruption

ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal”. ดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://royalsociety.go.th/บัญญัติศัพท์new-normal/

ARIRANG NEWS. (2020). 13% of museums worldwide may never reopen after COVID-19 pandemic: UNESCO. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=mdV3eEIWfo8

ArtScience Museum. (2020). ArtScience Museum Virtual Tours. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563,จาก https://www.youtube.com/watch?v=nICtiNHA1hw&list=PL4snQ0KlCxmFmY0XaxDPSMdZmkVoGKWIU

Avnet Silica. (2019). Augmented Reality: Digital Twins Demonstration with Microsoft HoloLens. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=vlX9IWAke6M&t=3s

Brooklyn Museum. (2019). Brooklyn Museum School Partnerships. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=HFDfnqslzsM

Canadian Museums Association. (2020). COVID-19 Emergency Support Fund for Heritage Organizations – Museums Assistance Program. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://museums.ca/site/aboutthecma/covid19/partnerresources

Chris Waite. (2020). Get A Free Virtual Tour of The British Museum. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=RrXpHOGR5-k

Daniel A. Skog, Henrik Wimelius & Johan Sandberg. (2018). Digital Disruption. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://link.springer.com/article/10.1007/s12599-018-0550-4

Digital Council of Thailand. (2020). Transform and Digitalize Now. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=h_9ExTXXo8o&feature=youtu.be

FRANCE 24 English. (2020). Coronavirus - Covid-19: museums around the world offer virtual visits. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=hrQT1B6yy1c

Government Digital Service. (2020). £75 million for iconic arts venues and cultural organisations from Culture Recovery Fund. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://www.gov.uk/government/news/75-million-for-iconic-arts-venues-and-cultural-organisations-from-culture-recovery-fund

Government of New South Wales. (2020). COVID-19 support for NSW small-medium arts and screen sector. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://www.create.nsw.gov.au/news-and-publications/news/covid-19-support-for-nsw-small-medium-arts-and-screen-sector-2/

International Council of Museums. (2020). Museums and end of lockdown: Ensuring the safety of the public and staff. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://icom.museum/en/covid-19/resources/museums-and-end-of-lockdown-ensuring-the-safety-of-the-public-and-staff-2/

Lëtzebuerg City Museum. (2019). Mansfeld 2.0 - bringing digital disruption to the City Museum. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=JLoLPNUf2EY

MICRO. (2020). The Smallest Mollusk Museum. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://vimeo.com/236788817

Miyoshi Mononoke Museum. (2019). Digital Collection Wall. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=4Yj3F1d87wc

Siriraj channel. (2020). New Normal. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=q9as_jP_RAY

Stedelijk Museum Amsterdam. (2020). Live Stedelijk BASE | a tour by Rein Wolfs. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=tHrNNItnOOo

The Natural History Museum. (2019). สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=on8Ci_rQIoA

ThaiMOOC. (2018). MOOC คืออะไร?. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563 จาก https://support.thaimooc.org/help-center/articles/77/mooc

UNESCO. (2020). Launch of UNESCO Report on museums around the world in the face of COVID-19. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563, จาก https://en.unesco.org/news/launch-unesco-report-museums-around-world-face-covid-19