ทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้งสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
กลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายประเพณีจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม ส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มชาติพันธุ์ม้งใช้ทุนทางวัฒนธรรมเครื่องแต่งกายประเพณีของชาติพันธุ์ม้ง ต่อยอดด้วยการสร้างสรรค์สินค้าแฟชั่นร่วมสมัย เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ โดยแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้งอย่างร่วมสมัยเพื่อการพาณิชย์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) อัตลักษณ์ของทุนทางวัฒนธรรมการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง (2) ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (3) นวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นกับทุนทางวัฒนธรรม และ (4) แนวโน้มกระแสนิยม โดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ม้งยังคงความงามทางสุนทรียะของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ยึดถือแนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ อาทิ ที่มาและความหมายของลวดลาย, แนวทางการสร้างสรรค์ลวดลายจากการลอกเลียนธรรมชาติ, จากตำนานความเชื่อ และจากอักขระโบราณ, การสร้างสรรค์ลวดลายด้วยรูปร่างเรขาคณิต, เทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์ลวดลายหรือเรียกว่า “การเขียนเทียน”, กระบวนการย้อมสีธรรมชาติ และการเลือกวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
จำนงค์ ปัญญาแก้ว. การสร้างกระบวนทัศน์สินค้าชุมชนร่วมสมัยจากทุนวัฒนธรรมกรณีศึกษา : ชนเผ่าม้ง ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาวิชาศิลปการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
บ้านจอมยุทธิ์. การแต่งกายเผ่าม้ง. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/06_1.html
ฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตศิลป์สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพ. ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และการสร้างสรรค์ผ้าปักม้ง. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563. จาก https://www.sacit.or.th/uploads/items/attachments/ca889fd9b844559dc1d47b4a52d5e40b/_43ff0e22954ffe9583e67ef39b87dc44.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, ประเพณีการแต่งกายของชาวเขาเผ่าม้ง. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จาก http://www.hmongkheknoi.pcru.ac.th/layouts/banner/
ศิวรี อรัญนารถ. (2558). นวัตกรรมตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์:ทุนวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครสำหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นเอเชีย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพ: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, กลุ่มชาติพันธุ์:ม้ง. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จากhttps://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/84
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. ผ้าปักม้ง เอกลักษณ์ชนเผ่าที่สืบทอดจากบรรพบุรุษ. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563 จาก https://www.sacit.or.th/uploads/items/attachments/421b3ac5c24ee992edd6087611c60dbb/_c7d5526ada5e79c5ac685ff8176729bb.pdf
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์กรมหาชน). (2557). เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายผ้าชาวเขา.(พิมพ์ครั้งที่ 1). พระนครศรีอยุธยา: บริษัท สยามคัลเลอร์พริน จำกัด. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563 จาก https://archive-api.sacit.or.th/documents/media/book/media-book-I3AlZhLnLg.pdf
สไบทิพย์ ตั้งใจ. (2558). การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งบ้านผานกกก ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.). (2555). คู่มือการผลิตผ้าย้อมคราม. (พิมพ์ครั้งที่2). กทม: บริษัท มูฟเม้นท์ เจน ทรี จำกัด. สืบค้น 20 ธันวาคม 2563 จาก http://puparn.rid.go.th/industry/PDF/19-19.pdf
หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(FAC-RU). (2563). โครงการนวัตกรรมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากจังหวัดน่านสู่สากลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กรณีศึกษา ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. (รายงานการดำเนินการวิจัย). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สัมภาษณ์
รัตนาพร ศิลป์ท้าว. ผู้ประกอบการร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน. สัมภาษณ์, 16 ธันวาคม 2563.