การสืบทอดโขน: มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Main Article Content

อินทิรา พงษ์นาค

บทคัดย่อ

มรดกวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ในการดำรงรักษาความเป็นชาติไทย ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาช้านาน นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่คนไทยทั้งชาติควรรักษาสืบทอดให้ยั่งยืนสืบไปตราบนานเท่านาน แต่สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สังคมโลกมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดเป็นสภาพไร้พรมแดน (Globalization) เกิดการเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลก ที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต อาจนำไปสู่การสูญเสียคุณค่าทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในสังคมไทย การรักษาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมไว้จำเป็นต้องใช้กระบวนการสืบทอดเป็นเครื่องมือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้ตระหนักรู้ สร้างจิตสำนึกให้มีความหวงแหนมรดกวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงรากเหง้าของตน


โขนเป็นมรดกวัฒนธรรมของไทยอันมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นรวมศาสตร์และศิลป์หลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน คุณค่าของโขนได้สะท้อนวิถีแห่งความเป็นไทยไว้อย่างชัดเจน องค์การยูเนสโกจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มความตระหนักเพื่อให้เกิดความเคารพและเรียนรู้คุณค่ามรดกวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการศึกษาและวิจัยองค์ความรู้และ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับโขนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน (17 พฤศจิกายน 2564). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 สืบค้นจาก https://dcy.go.th/webnew/main/services/images/3_1.pdf

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). โขน: มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติรายการแรกของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (6 พฤศจิกายน 2564) สืบค้นจากhttps://www.ryt9.com/s/ryt9/75149

กระทรวงวัฒนธรรม. (26 ตุลาคม 2564) สืบค้นจาก https://www.mculture.go.th/th/article_view.php?nid=21454)

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (5 พฤศจิกายน 2564) สืบค้นจาก https://isee.eef.or.th/overview.html)

การศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน (2556). การสืบทอดทางวัฒนธรรม. (5 พฤศจิกายน 2564) สืบค้นจาก http://nattawats.blogspot.com/ 2013/04/cultural-inheritance.html

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). (2564, 25 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเษกษา. เล่ม 138

ปิยะ ศักดิ์เจริญ .(2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 9-13.

ผุสดี กลิ่นเกสร. (2562). การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับการพัฒนาทักษะชีวิต. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจําปี 2562 วันที่ 19 ธันวาคม 2562. หน้า 1440.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (2542, 19 สิงหาคม) ราชกิจจานุเษกษา. เล่ม 116

มัทนียา พงศ์สุวรรณ. (2553) การนำเสนอแนวทางการสืบทอดพระปรีชาญาณแบบองค์รวมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562) วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ประจำฉบับที่ 26 ปีที่ 14 (ประจำฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2019). หน้า 159.

ศิริพร จินะณรงค์. (2558) การพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการประชุมทางวิชาการเรื่องทิศทางวัฒนธรรมกับการศึกษาในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง : สกศ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ.

สุธีรา อะทะวงษา. (2560). การสืบทอดวัฒนธรรมการฟ้อนสาวไหม และแนวทางการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์บริการการตลาดเพื่อสังคม. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2560. หน้า 137.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2557). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Education and Lifelong Leanning. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้องฟ้า ถาวรรักษ์ (2555). การอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านชาวกะเหรียง "รำตง" อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.

Jian Yi (2017). Research on Inheritance of Intangible Cultural Heritage. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 123

K.Dimitropoulos et al. (2018). A Multimodal Approach for the Safeguarding and Transmission of Intangible Cultural Heritage: The Case of i-Treasures. The original publication can be found in http://ieeexplore.ieee.org/document/8255779/

UNESCO. (2003). Convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. From http://ich.culture.go.th/images/stories/ich-pdf/2.1Convention-Safeguarding-Intangible-cultural-Heritage.pdf

Wen-Jie Yan and Shang-Chia Chiou (2021). The Safeguarding of Intangible Cultural Heritage from the Perspective of Civic Participation: The Informal Education of Chinese Embroidery Handicrafts. Sustainability 2021, 13,4958 https://www.mdpi.com/journal/sustainability