ศึกษาและพัฒนาตราสัญลักษณ์ บ้านสวนนกกวัก เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ กระท้อนทรงเครื่อง จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

จุฑามาศ เถียรเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลบ้านสวนนกกวัก และผลิตภัณฑ์กระท้อนทรงเครื่อง 2) เพื่อพัฒนาตราสัญลักษณ์ บ้านสวนนกกวัก เพื่อใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์กระท้อน ทรงเครื่อง จังหวัดปราจีนบุรี 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภค ที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับ ผลิตภัณฑ์กระท้อนทรงเครื่อง จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ เกษตรกรเจ้าของสวน 2) แบบสอบถามด้านคัดเลือกรูปแบบตราสัญลักษณ์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อ การออกแบบตราสัญลักษณ์ 4) แบบสอบถามด้านคัดเลือกรูปแบบฉลากสินค้า และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ ที่มีต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ผลการวิจัยพบว่า ผู้วิจัยสามารถเขียนเป็นขั้นตอน ได้ดังนี้1) ผลการศึกษาข้อมูลบ้านสวนนกกวัก จากการ สัมภาษณ์เกษตรกรเจ้าของสวน พบว่าเกษตรกรเจ้าของสวนมีความต้องการให้ผู้วิจัยได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ บรรจุภัณฑ์ และฉลากสินค้ารูปแบบใหม่ ให้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ 2) การออกแบบตรา สัญลักษณ์ บ้านสวนนกกวัก พบว่าตราสัญลักษณ์ รูปแบบที่ 1 ได้คะแนนสูงที่สุด มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสม มาก มีค่าอยู่ที่ (gif.latex?\overline{x}=4.16, S.D.=0.73) โดยใช้เทคนิคการออกแบบตราสินค้าแบบผสมผสาน (Combination Form) คือเป็นการออกแบบที่ใช้ตัวอักษร รูปภาพ หรือกราฟิกมาประยุกต์ ผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยใช้สีเขียวใน การออกแบบ ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้สีเอกรงค์ (Monochrome) คือ การใช้สี สีเดียว หรือการใช้สีที่แสดงความ เด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว แต่มีการลดหลั่นกันในเรื่องน้ำหนักสี และบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) คือ“Sincerity” ความจริงใจ จิตใจดี สร้างความสบายใจ และสะท้อนถึงความอบอุ่น หลังจากที่ได้ ตราสัญลักษณ์รูปแบบใหม่แล้ว (รูปแบบที่ผ่านการคัดเลือก) ขั้นตอนต่อไปก็จะนำมาประเมินความพึงพอใจที่มีต่อ การออกแบบตราสัญลักษณ์ จากผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า อยู่ที่ (gif.latex?\overline{x}=4.03, S.D.=0.63) 3) การออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงสร้าง เลือกใช้เป็นถ้วยพลาสติกใส่อาหาร มีฝาปิด (PP) 500 ml. ซึ่งบรรจุภัณฑ์ถ้วย PP เป็นชนิดบรรจุภัณฑ์พลาสติกกึ่งคงรูป ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก 4) การออกแบบฉลากสินค้า พบว่าฉลากสินค้า รูปแบบที่ 2 ได้คะแนนสูงที่สุด มีผลคะแนนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก มีค่า อยู่ที่ (gif.latex?\overline{x}=4.08, S.D.=0.84) 5) การประเมินความพึงพอใจจากผู้บริโภค จำนวน 100 คน พบว่า มีผลคะแนนอยู่ ในระดับเหมาะสมมาก มีค่าอยู่ที่ (gif.latex?\overline{x} =3.91, S.D.=0.50)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยรัตน์ อัศวางกูร. (2550). ออกแบบให้โดนใจ คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการและ นักออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ทั้งฮั่วซินการพิมพ์.

แผนพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2564.

พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. (2547). เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2558). รอบรู้บรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จินดาสาส์นการพิมพ์.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2556). บรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์หยี่เฮง.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2560). คู่มือบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน สำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอาง SME. กรุงเทพฯ : จินดาสาส์นการพิมพ์.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2554). การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อผลิตงานโฆษณา. กรุงเทพฯ: นเรศการพิมพ์.

สุภาภรณ์ ธีระจันทร์. (2559). การบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สุภัชนิญค์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). Packaging Design ออกแบบบรรจุภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:วาดศิลป์.

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: วิสคอมเซ็นเตอร์.