การศึกษาและออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการศึกษาและออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา พบว่ากิจการของกลุ่ม คือการรับซ่อมและตัดเย็บเสื้อผ้าในงานพิธี โดยผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บส่วนใหญ่จะทอขึ้นภายในชุมชน ทั้งยังได้ผลิตกระเป๋าสานและผ้าทอเพื่อจัดจำหน่าย นอกจากนี้ยังพบว่าสถานที่ตั้งของกลุ่มตั้งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติปางสีดา ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสระแก้วและเป็นถิ่นที่อยู่ของผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ และในทุกปีเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม ทางจังหวัดสระแก้วได้จัดเทศกาลดูผีเสื้อปางสีดาขึ้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในจังหวัด 2) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนในการออกแบบออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อนการออกแบบ ประกอบด้วยการออกแบบตราสัญลักษณ์ ชื่อกลุ่มและประโยคคำโปรย สี และสัญลักษณ์ ขั้นการออกแบบ นำผลสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาแปลผลในรูปแบบ Mood Board เพื่อใช้ในการออกแบบตราสัญลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา จำนวน 3 รูปแบบ และนำไปทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 คน เพื่อทำการคัดเลือกตราสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดเพียง 1 รูปแบบ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตราสัญลักษณ์ โดยนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 100 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินความพึงพอใจตราสัญลักษณ์กลุ่มเย็บปักถักร้อยปางสีดา ตำบลท่าแยก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.71) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสีสันสวยงาม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ ( = 4.64) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.61) รองลงมาได้แก่ ด้านแสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.61) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.61) และด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า ในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบตัวอักษร ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( = 4.40) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.81)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย. (2565). แผนปฏิบัติราชการรายปี (พ.ศ. 2565), กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.
กนกพร สัตยาไชย อารยะ ศรีกัลยาณบุตร และปวินท์ บุนนาค. (2564). แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม (The Journal of Social Communication Innovation) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564), หน้า 86-99.
โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.ฐานข้อมูลโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดวระแก้ว-ปราจีนตามพระราชดำริ (ระยะที่-3), กรุงเทพ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
ทองเจือ เขียดทอง. (2548). การออกแบบตราสัญลักษณ์, กรุงเทพฯ : สิปประภา.
ปาพจน์ หนุนภักดี. (2555). Graphic Design Principles, นนบุรี : ไอดีซี พรีเมียร์.
ประชิด ทิณบุตร ธีระชัย สุขสวัสดิ์ และอดิสรณ์ สมนึกแท่น. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559),หน้า 84-94.
ปัณณ์ณัช ธนัทพรรษรัตน์. (2561). การออกแบบต้นแบบตราสัญลักษณ์และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ให้วิสาหกิจชุมชน กลุ่มคนรักษ์แพะบางบัวทอง ตําบลพิมลราช อําเภอบางบัวทอง โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2561),หน้า 167-181.
สุมิตร ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบตราสัญลักษณ์, นนบุรี : CORE FUNCTION.
สุชาดา คันธารส จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง และอภิสักก์ สินธุภัค. (2557). การศึกษาแนวทางการออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำพริกของจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559),หน้า 14-25.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย