การศึกษาลวดลายไทยจากลายรดน้ำ สู่การสร้างสรรค์ศิลปะลวดลายใหม่ในจังหวัดระยอง It is a study of Thai patterns from Lai Rot Nam. and local patterns This design was inspired by Ancient water pattern from the Ayutthaya period Mixed with local patterns of Rayong Province. causing a new art pattern to emerge
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าลักษณะเฉพาะรูปแบบลวดลายไทยโบราณ จากลายรดน้ำในยุคสมัยอยุธยา และทดลองนำลวดลายไทยจากลายรดน้ำ มาวิเคราะห์ เพื่อไปประยุกต์ ร่วมกับเอกลักษณ์ที่แสดงความเป็นพื้นถิ่นของระยอง เพื่อออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะลวดลายโบราณ จากลายรดน้ำ และผสมกับลายความเป็นพื้นถิ่นของจังหวัดระยอง นำไปสู่ศิลปะลวดลายใหม่ โดยผลงานการออกแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก “ลายรดน้ำโบราณสมัยอยุธยา” ที่มีความสวยงาม อ่อนช้อย และทรงคุณค่า ซึ่งลายรดน้ำได้ใช้เป็นศิลปะสำหรับตกเเต่งสิ่งของเครื่องใช้ ที่ทำด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ และมีทำบนโลหะ หนังหรือไม้ไผ่สาน เช่น ไม้ประกับคัมภีร์ กล่องพระธรรม หีบ ตู้พระธรรม ลายรดน้ำนับเป็นศิลปวัตถุที่ทรงคุณค่าทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และเป็นแหล่งความรู้ของคนไทยสืบต่อกันมา ปัจจุบันเราสามารถชมความงดงามของลายรดน้ำโบราณได้ที่ พิพิธภัณฑสถานต่างๆ หรือตามวัดที่ยังคงมีอยู่
ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆทาง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ โดยการศึกษาวิเคราะห์ ในลวดลายต่างๆ ในยุคสมัยอยุธยา แล้วนำมาออกแบบสร้างสรรค์ให้เกิดลวดลายขึ้นมาใหม่ ผสมผสานให้เป็นศิลปะที่งดงาม และการศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล ลายที่มาจากความเป็นพื้นถิ่นระยอง จากการวิเคราะห์ลวดลายแบบต่างๆ และถอดลายออกมา เพื่อให้เห็นแนวทาง รูปร่างของลาย และการนำมาต่อลาย ในแบบผสมกัน ทำให้เกิดลวดลายขึ้นมาใหม่ ในรูปแบบทัศนศิลป์ร่วมสมัย
การนำลวดลายไทยจากลายรดน้ำ ผสมกับลายความเป็นพื้นที่ของจังหวัดระยอง ก็เป็นอีกหนึ่งในการวิจัยสร้างสรรค์ สำหรับลายที่ใช้ตกแต่งในแต่ละส่วนนั้น ก็จะเลือกใช้ลายตามประเภท หรือหน้าที่อันเป็น ลักษณะเฉพาะของศิลปะลายไทย เช่น ลายประจำยาม ลายกระหนก ลายกระหนกเปลวเครือเถา และลายก้านขด ส่วนลายความเป็นพื้นถิ่นของจังหวัดระยองส่วนใหญ่จะมีความโดดเด่น และมีความเฉพาะตัวของพื้นที่ อันได้แก่ หอยทับทิม ตัวเคย ปลากะตัก ทุเรียนหมอนทอง คลื่นทะเล หินริมทะเล ดอกหางนกยูง ใบชะมวงและลูกชะมวง เป็นต้น เมื่อนำมาผสมรวมกันกับการออกแบบ จะได้ลวดลายใหม่ที่มีเอกลักษณ์ความเป็นพื้นถิ่นของจังหวัดระยองร่วมอยู่ด้วย ทำให้เกิดเป็นศิลปะรูปแบบใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์เข้ากับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ของชุมชน และการส่งเสริมชุมชนในรูปแบบอื่นได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
คณิตศาสตร์ในธรรมชาติ. ศุภณัฐ ชัยดี. (2557). รูปเรขาคณิตสาทิสรูป. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, สืบค้นจาก http://schaidee.files.wordpresss.com'2015/05/sheet_fractal.pdf
พีนาลิน สาริยา. (2549). หนังสือการออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
ภาณุวัฒน์ เสงี่ยม. (2552). การออกแบบลวดลาย. ภูเก็ต : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
เมืองไทยไดอารี่. (2564). มรดกประณีตศิลป์สมัยอยุธยา ตู้พระธรรม. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, สืบค้นจาก http://www.blockdit.com/posts/61ce643800d8ca0752fa1a03
สันติ เล็กสุขุม. (2545). กระหนกในดินแดนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.