การวิเคราะห์องค์ประกอบศิลป์รูปธรรมเชื่อมโยงนามธรรมในงานประติมากรรมของภาคใต้

Main Article Content

สมพร ธุรี
พัฒนา ฉินนะโสต
บุญเรือง สมประจบ

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ เป็นการวิเคราะห์รูปธรรมด้านองค์ประกอบศิลป์ เนื้อหาสาระทางพุทธศาสนา ความเชื่อ และรูปแบบการแสดงออกที่หลากหลายของพหุวัฒนธรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 9) และเพื่อการวิเคราะห์รูปธรรมสัมพันธ์กับความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ และเพื่ออนุรักษ์ สืบทอด สืบสาน และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมด้านพุทธศิลป์ของภาคใต้
ผลการวิเคราะห์ ความคิดเชิงนามธรรมของสังคมพหุวัฒนธรรมในประติมากรรมของภาคใต้ ที่มีความโดดเด่นของรูปแบบ องค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วยเนื้อหาพหุวัฒนธรรม และความเชื่อของท้องถิ่นในพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานประติมากรรม ที่มีลัทธิความเชื่อที่หลากหลาย โดยมีศาสนาพุทธเป็นแกนในการดำเนินชีวิตและความเชื่อท้องถิ่นภาคใต้ โดยมีจิตวิญญาณของคนในท้องถิ่น เชื่อมโยงในรูปแบบการแสดงออกในรูปธรรมในการประกอบกันของรูปทรงที่มีการผสมผสานในผลงาน เกิดความงาม วิธีคิด เกิดเป็นรสนิยมการแสดงออกที่มีความหลากหลายในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการประกอบกันของหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบช่างหลวง รูปแบบศิลปะจีน รูปแบบศิลปะตะวันตก รูปแบบศิลปะฮินดู-ชวา ซึ่งปรากฏการผสมผสานความเป็นเอกภาพในประติมากรรมของภาคใต้ เกิดเป็นชุดความรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ที่แสดงออกถึงความเชื่อ ความศรัทธา ของชุมชนในภาคใต้ นำไปสู่การอนุรักษ์ สืบสานงานประติมากรรมในภาคใต้ในอนาคต และแนวคิดนามธรรมในเนื้อหาที่สร้างความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันของสังคมในอดีตที่มีความหลากหลายของศาสนา และสามารถนำไปใช้ในการลดความขัดแย้งทางสังคมในปัจจุบันที่มีความหลากหลายเพื่อให้เกิดความปรองดองและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมปัจจุบันให้มีเอกภาพและสันติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2533). จิตรกรรมไทยประเพณีชุดที่ 001 เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วรรณิภา ณ สงขลา. (2535). จิตรกรรมไทยประเพณี ชุดที่ 001 เล่มที่ 2 วรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

สถาบันทักษิณคดีศึกษา. (2529). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่มที่ 9. สงขลา: มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา.

สมพร ธุรี. (2555). การวิเคราะห์ทัศนศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น

สมพร ธุรี. (2565). พุทธศิลป์ของภาคใต้: แนวความคิดเชิงนามธรรมในรูปธรรมแบบพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุชาติ เถาทอง. (2559). ศิลปะวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2545). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.