การพัฒนาการย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ด้วยภูมิปัญญาสิ่งทอไทลื้อ กรณีศึกษา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน

Main Article Content

กรกต พงศาโรจนวิทย์
พัดชา อุทิศวรรณกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาระดับสีส้มจากทุนวัฒนธรรมไทลื้อ การย้อมสีส้มจากพืชธรรมชาติคำแสด ร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน และเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ชุมชน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมแฟชั่นระดับสากล โดยวิธีการ 1) ค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) 1.1) ศึกษาแนวโน้มสีส้มในกระแสแฟชั่น 1.2) ศึกษาการย้อมสีธรรมชาติจากพืชธรรมชาติคำแสดโดยทุนวัฒนธรรมสิ่งทอไทลื้อ 1.3) ศึกษานวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน 2) ลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เกี่ยวกับกระบวนการการย้อมสีธรรมชาติจากพืชธรรมชาติคำแสด และทดลองพัฒนานวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ด้วยทุนวัฒนธรรมสิ่งทอไทลื้อ จากครูภูมิปัญญา บริเวณ ศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล จังหวัดน่าน 3) วิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง 4) สรุปผล ผลการศึกษา การพัฒนาระดับของสีส้มจากทุนทางวัฒนธรรมการย้อมสีส้มพืชธรรมชาติคำแสด ร่วมกับนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจน ที่สอดคล้องกับแนวโน้มกระแสนิยมแฟชั่นระดับสากล พบว่า การย้อมสีธรรมชาติด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสด โดยการเปลี่ยนตัวแปรของสารช่วยย้อม (Mordant) จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความอิ่มตัวของสี (Saturation) และความสว่าง (Tints) ของระดับสีส้ม รวมไปถึงการย้อมสีธรรมชาติด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสดร่วมกับพืชผสมชนิดอื่นโดยกรรมวิธีการย้อมร้อน และการเปลี่ยนตัวแปรของสารช่วยย้อม (Mordant) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสี (Hue) และความอิ่มสี (Saturation) ของระดับสีส้ม อีกทั้งนวัตกรรมสิ่งทอฟิลาเจนสามารถย้อมสีด้วยเมล็ดพืชธรรมชาติคำแสด โดยกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2561). แฟชั่นและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมสิ่งทอ จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2565). Fashion And Merchandise การจัดการบริหารสินค้าแฟชั่น (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gerardo Bandera. (2022) HOW THE FASHION INDUSTRY POLLUTES OUR WATER.Retrieved October 30,2022,from https://www.fairplanet.org/story/how-the-fashion-

industry

Jenny Bell (2021). THE BEAUTY AND BENEFITS OF NATURAL DYES. Retrieved November,3,2022,from https://ecosophy.co.uk/journal/2021/10/28/the-beauty-and-

benefits

Jenny Clark. (2022). Colour Evolution SS 24. Retrieved October 19,2022,from https://www.wgsn.com/fashion/article/93490

Jenny Clark & Clare Smith. (2022) Colour of the Year 2024: Apricot Crush. Retrieved October 19,2022,from https://www.wgsn.com/fashion/article/93642

Morton, J. F. (1960). Can Annatto (Bixa Orellana L.) an Old Source of Food Color. Meet New Needs for Safe Dye?. Vol. 73. pp. 301-308. Proceedings of the Florida State Horticultural Society.

เกษมสุข เพ่งพินิจ, ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและการขาย. บริษัท จี อี พี สปินนิ่ง จำกัด. สัมภาษณ์วันที่ 11 สิงหาคม 2565.

ศุภมาศ วงศ์ไทย. ศูนย์ผ้าทอไทลื้อสีธรรมชาติบ้านดอนมูล. สัมภาษณ์วันที่ 24 ตุลาคม 2565.