การออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่

Main Article Content

ธรรมรัตน์ บุญสุข
รุ่งนภา สุวรรณศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 2)เพื่อศึกษานวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ 3)เพื่อสร้างต้นแบบและศึกษาความพึงพอใจนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เจ้าของร้านขายโคมไฟและลูกค้าที่มาเลือกซื้อโคมไฟในตลาดนัดจตุจักรจำนวน 50 คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนที่ 1 อัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ มีองค์ประกอบของตัวหนังใหญ่ คือ ลวดลาย สีสัน รูปทรง ซึ่งลวดลายการฉลุเป็นลายไทยพื้นฐานเป็นแม่แบบจากจิตรกรรมไทย โดยลวดลายรูปหนังใหญ่ส่วนใหญ่เกิดจากเครื่องมือที่เรียกว่า ตุ๊ดตู่ มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กกรวงรูกลมขนาดต่างๆ ตอกเรียงต่อกัน จนเกิดเป็นลวดลายต่างๆบนตัวหนัง ส่วนที่ 2 กำหนดแนวคิดในการออกแบบนวัตกรรมโคมไฟอัตลักษณ์ลวดลายศิลปะหนังใหญ่ ให้สามารถใช้สอยได้ตามหน้าที่อย่างเหมาะสมโดยใช้แนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์ หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวคิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ประกอบด้วย โคมไฟแขวน โคมไฟตั้งพื้น และโคมไฟติดผนังเพื่อให้ได้รูปแบบที่แสดงอัตลักษณ์ลวดลายของศิลปะหนังใหญ่ ที่มีความงามในด้านลวดลายและพื้นผิว รูปทรงโคมไฟใช้ออกแบบมาจากรูปทรงเรขาคณิตรูปทรงกรวย โดยใช้สีแดง สีน้ำตาล สีส้มและสีธรรมชาติใช้ในทำต้นแบบโคมไฟ ส่วนที่ 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟทั้ง 3 แบบ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ต้นแบบโคมไฟแขวนโดยรวมในระดับมาก (  gif.latex?\overline{x} =4.03 ) โคมไฟตั้งพื้นโดยรวมในระดับมาก ( gif.latex?\overline{x} =4.04 ) และโคมไฟติดผนังโดยรวมในระดับมาก ( gif.latex?\overline{x}=4.08 ) ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งาน มีรูปทรงที่มีความร่วมสมัยสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่นิยมในความแปลกใหม่มีคุณค่าของศิลปะไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิน อยู่ดี. (2530). มูลกำเนิดของคนไทย. ศิลปวัฒนธรรมไทย. ปีที่ 11 (ฉบับพิเศษ)

ทองเจือ เขียดทอง. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์ Logo trade mark symbol.กรุงเทพฯ : สิปปรภา.

ปานฉัตท์ อินทร์คง. (2560). การประยุกต์ใช้ผ้าทอจันเสนร่วมกับงานจักสานเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงพาณิชย์ จังหวัดนครสวรรค์. กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

มนตรี ตราโมท. (2502). การละเล่นของไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.

รักษ์ วรกิจโภคาธร. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

เรวัต สุขสิกาญจน์. (2557). วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน ธันวาคม 2557

วิสิฐ จันมา. (2558). ประวัติศาสตร์และพื้นฐานการออกแบบภาพเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร. (2553).คู่มือนําเที่ยววัดโพธิ์.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จํากัด(มหาชน).

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2550). ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาส์นสมเด็จ เล่ม 25. พระนคร: องค์การคของค้าคุรุสภา.