การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเภทผลิตภัณฑ์จากกระดาษฟางข้าว และทำการคัดเลือกเพื่อนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2) เพื่อออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ตัวแทนกลุ่มผู้ผลิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด นักพัฒนาชุมชน ผู้ผลิต และผู้บริโภค รวมจำนวน 110 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลจากการวิจัยพบว่า การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประเภทผลิตภัณฑ์จากกระดาษฟางข้าว และการคัดเลือกเพื่อนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้จากการสำรวจ และสัมภาษณ์ ตัวแทนกลุ่ม และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนที่ 2 การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ในส่วนนี้ผู้วิจัยได้นำประเด็นที่ต้องการพัฒนา รวมถึงความต้องการของชุมไปทำการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) และนำข้อมูลที่ได้มาสรุปในรูปแบบ Mood Broad ส่วนที่ 3 การประเมินความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ผู้วิจัยได้แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการใช้งาน 2) ด้านการปกป้อง 3) ด้านการส่งเสริมการขาย โดยภาพรวมของการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (=4.43) (S.D.= 0.82)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กองบรรณธิการ เพชรกะรัต. (2552). แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์, กรงเทพฯ : เพชรกะรัต
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ). (2560). แผนแม่บท โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) ระยะ 5 ปีที่ 6 (ตุลาคม พ.ศ.2559 – กันยายน 2564), กรงเทพฯ : สยามพริ้นท์.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (2558). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณ์ใหม่, กรุงเทพฯ : ธนาเพลส.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภค, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณธกร อุไรรัตน์. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับข้าวเจ๊กเชย เสาไห้จังหวัดสระบุรี, วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2560), หน้า 193.
ภาวนา อรัญญิก และบัณฑิต โชคสิทธิกร. (2551). marketing & strategy. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน
มณฑลี ศาสนนันทน์. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างนวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย, กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก, กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
สุดาพร กุลฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์, กรุงเทพฯ : วิสคอมเซ็ฯเตอร์.
เอลเลน ลัปตัน. (2560). GRAPHIC DESIGN THE NEW BASICS. แปลโดย สหทัศน์ วชิระนภศูล. นนทบุรี : ไอดีซีฯ