การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ เมืองศรีพโล

Main Article Content

นพพล จำเริญทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการนำเสนอผลการสร้างสรรค์จากงานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ เมืองศรีพโล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทยรูปแบบระบำจากแหล่งประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก เมืองศรีพโลโดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและผลงานทางวิชาการ การสัมภาษณ์และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยภาคสนามแหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติปราจีนบุรีและพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดศรีพโลทัย จังหวัดชลบุรีแล้วนำผลการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองศรีพโลเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ระบำ ผลการวิจัยพบว่าเมืองศรีพโลในอดีตเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ ติดชายฝั่งทะเล มีประวัติทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลตั้งแต่ตั้งสมัยทวารวดี  ขอม สุโขทัยจนกระทั่งสมัยอยุธยาตอนปลาย ผู้วิจัยกำหนดจินตภาพของการแสดงให้ตัวละครหรือผู้แสดงนั้นเป็นผู้หญิงซึ่งเป็นสัญลักษณ์จากตุ๊กตาเสียกบาล โดยกำหนดโครงสร้างของระบำไว้ 4 ช่วงได้แก่ ช่วงก่อร่างสร้างเมือง  ช่วงการเผยแพร่พุทธศาสนา  ช่วงความเชื่อในเทพเจ้า  และช่วงรุ่งเรืองการค้าขาย โดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ พระพุทธรูป เทวรูปและท่ารำจากระบำชาติพันธุ์ตามขนบ ผู้วิจัยค้นพบท่ารำใหม่จำนวน 3 ท่าคือ จีบละโว้  จีบอู่ทอง และท่ารำพระคเณศชูงวง เครื่องแต่งกายได้แรงบันดาลใจตามศิลปะแบบสุโขทัยโดยเลือกใช้ทรงผมแบบมวยสูง ผ้ารัดอก ผ้านุ่งชั้นในยาวกรอมเท้าสีเขียวไข่กาตามสีเครื่องเคลือบดินเผา เครื่องประดับได้รับแรงบันดาลใจจากสำริดที่ขุดพบสมัยอยุธยา ดนตรีประกอบการแสดงเป็นทำนองเพลงที่ประพันธ์ใหม่โดยอ้างอิงแนวคิดการประพันธ์เพลงจากเพลงชุดระบำโบราณคดีของกรมศิลปากรบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตุ๊กตาเสียกบาลแม่อุ้มลูก. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 เข้าถึงได้จาก https://www.google.com.

พระเนื้อชินปางลีลา. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก http://www.certificatepra.com.

พระพุทธรูปแบบอู่ทอง. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th.

พระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบอู่ทอง. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก http://nkr.mcu.ac.th/buddhasil.

พระพุทธรูปสมัยทวารวดี. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th.

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดศรีพโลทัย. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม พ.ศ.2563 เข้าถึงได้จาก http://oldweb.nongmaidaeng.go.th/picplace1.html.

ภารดี มหาขันธ์. (2552). พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชลบุรี : หจก.องศาสบายดี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ศูนย์การเรียนรู้ทวารวดี. (2552). สรรสาระอารยธรรมทวารวดี. กรุงเทพ ฯ : เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดชลบุรี.(2542). พิมพ์ครั้งที่ 1 : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). อารยธรรมฝั่งทะเลตะวันออก. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มติชน

สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์. (2559). การเล่าเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออกผ่านการสร้างบทและกำกับละครเพลงเรื่อง เจ้าหญิงโคกพนมดี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ เถาทอง. (2544). ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออก. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์โอเดียน.

สุชาติ เถาทอง. (2561). ภูมิบูรพา พลังแผ่นดินวิถีทัศน์. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.