โน้ตเพลงในฐานะสื่อการเรียนรู้ดนตรีล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของโน้ตเพลงในวัฒนธรรมดนตรีล้านนา ตลอดจนการใช้โน้ตดนตรีในฐานะสื่อการเรียนรู้ดนตรีล้านนา ผลการศึกษาพบว่า ระบบการถ่ายทอดความรู้ดนตรีล้านนาแต่เดิมใช้ระบบมุขปาฐะ มีการบันทึกคำร้องแต่ไม่ปรากฏการบันทึกสัญลักษณ์แทนทำนอง ภายหลังจึงมีการใช้โน้ตเพลงในฐานะสื่อการเรียนรู้ทางดนตรีล้านนาโดยกำหนดสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข วงกลม บทสำหรับท่อง หรือใช้โน้ตระบบอักษรไทย อย่างไรก็ตาม โน้ตดนตรีในวัฒนธรรมล้านนาเป็นเพียงเครื่องช่วยการจำของนักดนตรีเท่านั้น ความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการบรรเลงผู้เรียนดนตรีย่อมถูกขัดเกลาจากประสบการณ์ทางวัฒนธรรม โน้ตที่เป็นที่นิยมแพร่หลายในการถ่ายทอดดนตรีล้านนา คือ ระบบโน้ตอักษรไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2537). การสอนดนตรีในแบบของโคไดและออร์ฟ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ , 2(1), 78-80.
ปัญญา รุ่งเรือง. (2544). “จากมุขปาฐะสู่ลายลักษณ์: การฟื้นฟูโน้ตเพลงไทยฉบับครู.” ใน การ ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2544. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2543). “ประวัติการบันทึกโน้ตเพลงในดนตรีไทย.” วารสารมหาวิทยาลัย ศิลปากร 19-20, 182-215.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2553). มโหรีวิจักขณ์. นนทบุรี: คีตวลี.
มนตรี ตราโมท. (2538). ดุริยสาส์น. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.
เมธี ใจศรี. (2553). สมณกถา. ใน งานปริวรรตคัมภีร์โบราณล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สงกรานต์ สมจันทร์. (2563). ประวัติดนตรีล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Bruner, Jerome S. (1966). Toward a Theory of Instruction. Cambridge, MA: Belknap Press of Harvard University.
Dyck, Gerald P. (2009). Musical Journeys in Northern Thailand. Assonet, MA: Minuteman press of Fall River.
Mugglestone, Erica, and Guido Adler. “Guido Adler's ‘The Scope, Method, and Aim of Musicology’ (1885): An English Translation with an Historico-Analytical Commentary.” Yearbook for Traditional Music, vol. 13, 1981, pp. 1–21. JSTOR, www.jstor.org/stable/768355. Accessed 31 Aug. 2021.
Seelig, Paul J. (1932). Siamesische musik siamese music. Bandoeng: J. H. Seelig & Zoon.
Smyth, H. W. (1898). Five years in Siam, from 1891 to 1896 Volume 2. London: J. Murray.
Stumpf, C. (1901). Tonsystem und Musik der Siamesen. Beiträge zur Akustik und Musikwissenschaft, 3, 69-138.