การออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีทแวร์สแว๊กเก้อร์โดยใช้แนวคิดดีไซน์พาราด็อกซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีทแวร์สแว๊กเก้อร์โดยใช้แนวคิดดีไซน์พาราด็อกซ์ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในเชิงคุณภาพด้านแนวคิดสู่การออกแบบ จากการศึกษาผลงานศิลปินที่ใช้แนวคิดดีไซน์พาราด็อกซ์ เพื่อศึกษาแนวคิดและองค์ประกอบในการออกแบบ ด้วยการวิเคราะห์ผลงาน penrose stairs ของ M.C.Esher / Lionel sharples penrose และงานทัศนศิลป์สมัยใหม่ Post neo cubism ของศิลปิน Miguel angel belinchon มาวิเคราะห์ เพื่อหาองค์ประกอบในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย ในการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้านพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้แบบสอบถามกลุ่มเป้าหมายสตรีทแวร์สแว๊กเก้อร์ 100 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มเป้าหมายโดยตรง 3 คน รวมถึงใช้เครื่องมือการสังเกตโดยเก็บข้อมูลจากภาพถ่ายกลุ่มเป้าหมายในการวิเคราะห์ paper doll dataset รูปแบบเสื้อผ้าผู้ชาย 100 รูป รูปแบบเสื้อผ้าผู้หญิง 100 รูป จากนั้นนำข้อมูล ทั้งหมดที่ได้รับมาวิเคราะห์เพื่อสรุปองค์ประกอบในการออกแบบ
ผลวิจัย พบว่า (1.) รูปแบบและการสวมใส่เครื่องแต่งกาย ลักษณะโครงร่างเงาการแต่งกายที่มีความ ใหญ่และหลวม กว่าปกติ น่าสนใจ สีสันสดใสและสีที่เป็นกระแสนิยม วัสดุแบบใหม่แปลกตา และรายละเอียดทางแฟชั่น มีการผสมสานในการแต่งกาย สวมใส่เครื่องประกอบการแต่งกายเพิ่มเติม (2.) เป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเป็นกลุ่มไม่จำกัดเพศสภาพมีวิถีชีวิตในเมือง ช่วงอายุ 20 – 35 ปี รุ่นเจนเนอร์เรชั่นเอ็ม และซี (3.) สายอาชีพอิสระ นักออกแบบสร้างสรรค์ในสายงานต่างๆ มีรายได้มั่นคงในระดับหนึ่ง (4.) มีทัศนคติในรูปแบบสแว๊กเก้อร์ ที่มีความมั่นใจและเป็นตัวตนเองสูง รักอิสระ ชอบการแต่งตัว บริโภคสินค้าตามกระแสแฟชั่นนิยม รสนิยมดี มีบุคลิกมั่นใจในตัวเอง ต้องการแสดงความเป็นตัวตน และโดดเด่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมบูรพา (Burapha Arts Journal) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2553). ปฏิทรรศน์. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา: http://www.legacy.orst.go.th/?knowledges=ปฎิทรรศน์-๒๒-มกรคม-๒๕๕๓
พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2562). การจัดการบริหารสินค้าแฟชั่น (FASHION AND MERCHANDISE). กรุงเทพมหานคร :วิสคอม.
Douglas R. Hofstadter (2007). MASTERS OF DECEPTION: ESCHER, DALI & TH ARTISTS OF OPTICAL IllUSION. New York: Sterling Publishing Co.,Inc.
Greg Foley/Andrew Luecke. (2017). COOL STYLE, SOUND, AND SUBVERSION. New York.
KMLITE. (n.d.) PARADOX. Kmlite: https://kmlite.wordpress.com/2011/04/08/v4i2-11
My refers. (2023) UNLOCK YOUR SWAGGER: THE BEST T-SHIRT STYLES FOR MEN IN 2023. Medium: https://medium.com/@myrefersonline/unlock-your-swagger-the-best-t-shirt-styles-for-men-in-2023-6ea44f47b0d2
Nomad609. (2016). “HIPSTER หลบไป สมัยนี้ต้องหล่อแบดๆแบบ SWAG”. Favforward: http://www.favforward.com/15430/trend/swag
Street style. (2019). In Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Street_style
TCDC. (2015). เจาะเทรนด์โลก 2015 โดย TCDC: แฟชั่น วัสดุ เทคโนโลยี สี พื้นที่ ไลฟ์สไตล์. TCDC: https://article.tcdc.or.th/uploads/file/ebook/2564/06/desktop_th/EbookFile_20547_1624 001992.pdf
TCDC. (2022). Trend 2022 เจาะเทรนด์โลก: READY SET GO. TCDC: https://article.tcdc.or.th/uploads/file/ebook/2564/10/desktop_th/EbookFile_33202_1634128759.pdf