การพัฒนาลวดลายเรขศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรม ด้วยแนวคิดศิลปะร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา ทุนวัฒนธรรมขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ กรุงเทพมหานครฯ

Main Article Content

สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ
พัชรี พันธุ์ยางน้อย
ดรัลรัตน์ สิริกานต์วงศ์มาศ
พาณิภัค วิเศษโชค
วริศรา มุ่งปั่นกลาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาลวดลายเรขศิลป์จากทุนวัฒนธรรม สำหรับผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ กรณีศึกษา ทุนวัฒนธรรมขันลงหิน ชุมชนบ้านบุ กรุงเทพมหานคร โดย 1) การทบทวนวรรณกรรม, 2) เก็บข้อมูลภาคสนามกับผู้ประกอบการขันลงหิน ด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์แบบกึ่งทางการ จำนวน 1 กลุ่ม, 3) การเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ และผลิตภัณฑ์แฟชั่น จำนวน 3 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ปลายปิดให้ระดับความเหมาะสม 5 ระดับ, 4) วิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกัน และเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคอายุระหว่าง 26-41 ปี อาศัยบริเวณกรุงเทพ และปริมณฑล, 5) กำหนดกลยุทธ์การออกแบบ, 6) การสร้างสรรค์ลวดลายเรขศิลป์, 7) การนำลวดลายเรขศิลป์สร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอ เช่น ผืนผ้าคลุมโซฟา, ปลอกหมอน เป็นต้น 8) เก็บข้อมูลความพึงพอใจ 9) สรุปผล พบว่า 1) แนวทางสร้างสรรค์เรขศิลป์บนผืนผ้าจากทุนทางวัฒนธรรมขันลงหินแบบร่วมสมัย ได้ระดับมากที่สุด (x̄=4.60, S.D.=0.49), 2) อารมณ์ความรู้สึกในระดับมาก Modern (x̄=4.20, S.D.=0.75), Natural (x̄=3.80, S.D.=1.47), Classic (x̄=3.80, S.D.=1.17), Dynamic (x̄=3.60, S.D.=1.20), 3) รูปแบบของเรขศิลป์ที่เหมาะสมในระดับมาก ได้แก่ Geometric Art Style (x̄=4.20, S.D.=0.98), Bauhaus Style (x̄ =4.00, S.D.= 0.89), Surrealism Style (x̄=3.60, S.D.=0.80), และ 4) แนวทางการจัดวางลวดลายเรขศิลป์บนผืนผ้า แบบสลับทิศทางได้ระดับมากที่สุด (x̄ = 4.40, S.D. = 0.80), ระดับมาก คือ ลวดลายทิศเดียวกัน (x̄ = 3.80, S.D. = 1.47) และลวดลายแบบกลุ่ม (x̄ = 3.60, S.D. = 1.74)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2560). การนำเทคนิคเดลฟายไปใช้สาหรับการวิจัย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 47-64

บุหลง ศรีกนก และ ภูธิปนิธิศร์ คงโภคานันทน์. (2549). ช่างสิบหมู่. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566).

ปิยะนาถ อังควาณิชกุล. (2561). มรดกช่างสมัยอยุธยา: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบุ. วารสารประวัติศาสตร์. 2561. (สิงหาคม 2561 - กรกฎาคม 2562). 129-142

พรรัก เชาวนโยธิน, กมล เผ่าสวัสดิ์ และ เกษม เพ็ญภินันท์. (2562). รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

ร่วมสมัย กรณีศึกษา Tino Sehgal. Humanities, Social Sciences And Arts. 12. July –August. 558-605. Issn 1906 -3431.

พีนาลิน สาริยา. (2549). การออกแบบลวดลาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์โอ.เอส. พริ้นดิ้ง เฮ้าส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2561). การสร้าง และการจัดวางแม่ลาย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566. จาก Https://Shorturl.Asia/Xlnye

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กรมหาชน). (ม.ป.ป.). งานศิลปหัตถกรรมประเภทขันลงหิน-บ้านบุ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14.5.2567. จาก Chrome-Extension://Efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/Https://Www.Sacit.Or.Th/Uploads/Items/Attachments/3B93D91C6Ca4990Fffd61E37D9235Acb/_498C02A0C8428837C103Ebf7645839D7.Pdf

สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ. (2564). นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสิ่งไร้มูลค่าทางการเกษตรสู่การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยแนวคิดการออกแบบข้ามวัฒนธรรม (ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ. (2566). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา หลักการออกแบบ (Design Principles). สืบค้นเมื่อ 14.5.67 เข้าถึงจาก Https://App.Leb2.Org/Class/502511/Material/3593205

สุทธาภา อมรวิวัฒน์, ธีรินทร์ รัตนภิญโญวงศ์, ทับขวัญ หอมจำปา, นิตนารา มินทะขิน, ศรีนรินทร์ เผ่าพงษ์ไพบูลย์ และ ณัฐชยา อารักษ์วิชานันท์. (2014). กลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค GEN Y. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24.5.67. เข้าถึงจาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/130/dzi68owq5l/8372_20141112161337.pdf

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบคืนเมื่อ 14.5.67 จาก Https://Dictionary.Orst.Go.Th/

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), (2564), Creative Economy พาเศรษฐกิจไทยก้าวไกลสู่สากล, ออนไลน์, สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2567, จาก Https://Www.Nxpo.Or.Th/Th/9440/

Craft 'N' Roll. (2562). Textile 101 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผ้า ผ้าคืออะไร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14.5.67. จาก Https://Craftnroll.Net/Uncategorized/Textile-101-Material/