การออกแบบอัตลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อการพัฒนาสินค้าอย่างยั่งยืน

Main Article Content

กฤษฏิ์ ตุลวรรธนะ
ดวงรัตน์ ด่านไทยนำ

บทคัดย่อ

จากแผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566 – 2570 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม วิสัยทัศน์ โดยมีประเด็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของจังหวัด โดยใช้การออกแบบอัตลักษณ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตรมาแปลรูปและส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนเกษตรสวนนอก อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก พบว่าสินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสินค้าทั้งรูปแบบการมัดย้อมโดยใช้วัสดุจากใบลิ้นจี่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ จากข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และอัตลักษณ์วิสาหกิจชุมเกษตรสวนนอก 2.เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเกษตรสวนนอก ภาคเอกสาร จากการศึกษาทฤษฎีด้านการออกแบบบอัตลักษณ์จากการสัมภาษณ์ใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม(Focus Group) 3.เพื่อออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่โดยใช้ชื่อวิสาหกิจชุมชนเกษตรสวนนอก มาสร้างเป็นตราสัญลักษณ์แบบตัวอักษร (Logo Wordmarks) การเลือกใช้สี (Corporate Color) ที่มาจากใบลิ้นจี่ ตัวอักษร (Typography) องค์ประกอบของกราฟิก (Graphic Element) จากลวดลายผ้ามัดย้อมใบลิ้นจี่ โดยนำผลงานการออกแบบไปประเมินกับผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอัตลักษณ์ชุมชน นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและมีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนก่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนและเป็นตัวอย่างในการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนอื่นๆต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม ในการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้า“บางคนที”เพื่อพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์,19(3), 112-126.

เจนยุทธ ศรีหิรัญ (2560). การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย บ้านนาขุม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศว, Vol 8 No.1, 1-14

เมธาวี จำเนียร. (2564). อัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การสร้างและสื่อสารแบรนด์ กรณีศึกษา การแสดงรำโทนนกพิทิด. วารสารราชพฤกษ์, 19(2), 1-12.

ธรรมธร ศรีสุรีย์ไพศาล. (2555). การออกแบบเลขนศิลป์แสดงอัตลักษณ์จังหวัดสมุทรสาคร. ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2562). เส้นทางวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ณัฐพล ใยไพโรจน์ (ชนะ เทศทอง, บรรณาธิการ). (2561). Digital branding: กลยุทธ์แจ้งเกิดแบรนด์เล็ก ให้เติบใหญ่ได้อย่างยั่งยืน. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ. (2561). กระบวนการสร้างอัคลักษณ์สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดเลย. ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Harry Bennett. Paper Stone Scissors’ identity for Reloop depicts the sustainability of their ‘re-commerce’ model. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 มากราคม 2566, จาก: https://the-brandidentity.com/project/paper-stone-scissors-identity-for-reloop-depicts-the-sustainability-of-their-re-commerce-model

Jain, R. (2017). Basic Branding Concepts: Brand Identity, Brand Image, and Brand Equity. International Journal of Sales & Marketing Management Research and Development (IJSMMRD), 7(4), pp. 1-8.