สุนทรียภาพแห่งมรดกทางวัฒนธรรมผ้าทอจ้วงจิ่น : การฟื้นฟูและสืบทอดลวดลาย ผ้าทอจ้วงจิ่น และการออกแบบเสื้อผ้าอย่างสร้างสรรค์

Main Article Content

อวี้หวา จาง
ภรดี พันธุภากร
บุญชู บุญลิขิตสิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ อัตลักษณ์ และความหมายแฝงทางวัฒนธรรมของลวดลายผ้าทอจ้วงจิ่น และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่จากลวดลายผ้าทอจ้วงจิ่นเป็นต้นแบบชุดเครื่องแต่งกาย การดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์และความหมายแฝงของลวดลายผ้าทอจ้วงจิ่นปรากฎอยู่ในผ้าทอแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ลวดลายเรขาคณิต ลวดลายพืช ลวดลายสัตว์ ลวดลายอักษรศิลป์ และลวดลายเฉพาะเรื่อง ในส่วนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่จากลวดลายผ้าทอจ้วงจิ่น ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่ 1) การใช้ลวดลายโดยตรง 2) การใช้ลวดลายเดิมแต่เปลี่ยนรูปแบบ และ 3) การแยกออกและการรวมเข้าด้วยกันใหม่ จากนั้นสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานจำนวน 2 ชุด ได้แก่ ชุดผลงาน “ความหวัง” และ ชุดผลงาน “เส้นด้ายแห่งความรัก”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Edward, T. H. (1871). Beyond Culture. New York: Anchor Books.

Giddens, A. (1991). The Consequences of Modernity. London :Polity Press.

Nye, J.S. (2004). Soft Power: the Means to Success in World Politics. New York: PublicAffairs.

Powell, K. (1999). Architecture reborn: converting old buildings for new uses. Toronto Public Library.

Wu, Y. (2018, December 14). Folk force plays a role in protecting cultural heritage Zhuang brocade. https://news.cgtn.com/news/3d3d414e34417a 4d31457a6 333566d54/share_p.html

Xiaotong, F. (2009). Fei Xiaotong's cultural consciousness. Inner Mongolia Peoples Publishing Press.