รูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์
สิรินันท์ ศรีวีระสกุล
เกรียง ฐิติจำเริญพร
ดุษิต พรหมชนะ
นิรันดร์ ตั้งธีระบัณฑิตกุล

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีขั้นตอนของการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) การนำรูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปทดลองใช้จัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ครูแกนนำการใช้รูปแบบฯ จำนวน 48 คน และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 432 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 5 ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูล   เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปและบรรยายตามสภาพจริง รูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พัฒนาขึ้นมี 5 ขั้นตอนคือ 1) แรงบันดาลใจ 2) การตัดสินใจ 3) กระบวนการทำงาน 4) ผลที่เกิดขึ้น และ 5) การแบ่งปัน โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเหมาะสมและมีความตรงเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าเมื่อนำรูปแบบการพัฒนากระบวนการคิดในการทำงานบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเรียนการสอน พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีกระบวนการคิด ความสามารถในการนำเสนอผลงาน และการประเมินผลงานอยู่ในระดับดี โดยพิจารณาจากคะแนนจากการประเมิน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์, โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ชื่อ-สกุล  นายกิตติพันธ์  อุดมเศรษฐ์

วุฒิการศึกษาสูงสุด ค.ด. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่ง หัวหน้าแผนกพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมคุณภาพครูและบุคลากร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เคน เคย์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21: 21STCentury Skills Rethinking How

Students Learn. วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์ แปล กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ออกแบบการเรียนรู้อย่างไร ให้เด็กเกิดอุปนิสัยพอเพียง. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง.

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. (2557). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ปีการศึกษา 2557. เชียงใหม่: โรงเรียน

ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.

ประภาศรี รอดสมจิตร์. (2542). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวคิดหมวกคิดหกใบของเดอโบโน(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา

บัณฑิต). สาขาวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2554). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: จากหลักคิดสู่วิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์

พับลิชชิ่ง.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). อดีต ปัจจุบันและอนาคตของพัฒนศึกษากับการพัฒนาประเทศและประชาคมโลก.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และ พะเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรรุ่ง งามสมพรพงศ์. (2558). การเปรียบเทียบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างเรียน

ด้วยวิธีแบบหมวกคิด 6 ใบกับแบบอภิปรายกลุ่มย่อย (งานค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).

สาขาวิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. (2559). บทที่ 5: การติดต่อสื่อสารการเกษตร. (ออนไลน์). เข้าถึงจาก http://agecon-

extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352731/บทที่%205.pdf.

สุกรี รอดโพธิ์ทอง. (2546). เอกสารคำสอน วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ความรู้ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : กรมพัฒนาชุมชน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

(2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

ชุมนุมสหการณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และ

วิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน

ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้.

อุมาพร นิลทวิก. (2553). การสื่อสารที่มีประสิทธิผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กับการส่งออก ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชา

บริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

De Bono, E. (1985). Six Thinking Hats: An Essential Approach to Business Management. United States: Little, Brown & Company.

Frazee, B.M. and R.A. Rudnitski. (1995). Integrated Teaching Methods: Theory, Classroom

Application, and Field-Based Connection. New York: Delmar Publisher.

Sarah Kessler. (2010). How to Improve Your Presentation Skills. Retrieved from

http://www.inc.com/guides/how-to-improve-your-presentation-skills.html.