พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์คือการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงทะเบียนเรียนในรายวิชากีฬาเพื่อสุขภาพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โดยเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 396 คน ใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาโดยสรุปพบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ ส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารมือเช้า การเติมน้ำตาล และน้ำปลา เพื่อเพิ่มรสชาติอาหารมากเกินไป การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำอัดลม และอาหารจานด่วน และขนมกรุบกรอบ/ ขบเคี้ยว ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว นักศึกษาส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและผ่อนคลายความเครียด นักศึกษาที่มีภาวะความเครียด ส่วนใหญ่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสมแต่ยังมีบางส่วนที่มีพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดที่เสี่ยงต่อสุขภาวะ เช่น การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และไปเที่ยวแหล่งบริการ และนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ และในส่วนที่ยังสูบมีความคิดที่จะเลิกสูบบุหรี่ในอนาคต อย่างไรก็ตาม นักศึกษาส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มก่อนขับขี่ยานพาหนะ ที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2545). ขยับกาย สบายชีวี โดยคณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกวันอนามัย
โลกปี 2545. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). การพัฒนานักศึกษานักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมวรรณ อยู่ขำ. (2546). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว การกีฬา และนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เพ็ญจันทร์ ประดับมุข. (2541). รายงานการทบทวนสถานภาพ งานวิจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์. (2548). รายงานการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา. พะเยา: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2544). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพฯ: สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2558). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา พ.ศ.2558-2561.
เข้าถึงจาก http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/ohec_plan58-61.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสองปี 2556 Social Situation and Outlook. เข้าถึงจาก
https://www.msociety.go.th/article_attach/statistic_8871.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557. เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/ smokePocket57.pdf.