การสร้างแผนภาพความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนมาเป็นเวลานาน วิธีการทั่วไปของการวิเคราะห์ความเข้าใจด้านนี้คือการจัดประเภทความเข้าใจออกเป็นกลุ่ม (เช่น ความเข้าใจที่รอบรู้ ความเข้าใจที่เปลี่ยนผ่าน และความเข้าใจที่ไร้เดียงสา) ซึ่งยังไม่สามารถแสดงได้ว่า ผู้เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แต่ละด้านอย่างไร บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ด้วยการสร้างแผนภาพ ซึ่งผู้วิจัยสามารถสร้างขึ้นเพื่อแทนความเข้าใจเหล่านั้น ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามโดยนิสิตครูถูกใช้เป็นตัวอย่างเพื่อแสดงกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล บทความนี้เสนอแนะด้วยว่า การวิจัยด้านนี้ควรเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบองค์รวมให้มากขึ้น
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กาญจนา มหาลี และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2553). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 16(5), 795-809.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว, สุนันท์ สังข์อ่อง และ สมาน แก้วไวยุทธ. (2550). การพัฒนาการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษาช่วงชั้นที่หนึ่ง. วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 13(4), 513-525.
พฤฒพร ลลิตานุรักษ์ และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2554). ทรรศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.). วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 17(5), 223-254.
ลฎาภา สุทธกูล, นฤมล ยุตาคม และ บุญเกื้อ วัชรเสถียร. (2554). กรณีศึกษาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และการปฏิบัติการสอนของครูระดับประถมศึกษา. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 32(3), 458-469.
ลือชา ลดาชาติ. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับครูวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลือชา ลดาชาติ และ ลฎาภา สุทธกูล. (2555). การสำรวจและพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(2), 73-90.
ลือชา ลดาชาติ, ลฎาภา สุทธกูล และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2556). ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการส่งเสริมการเรียนการสอน “ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์” ภายนอกและภายในประเทศไทย. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 34(2), 269-282.
สุทธิดา จำรัส และ นฤมล ยุตาคม. (2551). ความเข้าใจและการสอนธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในเรื่องโครงสร้างอะตอมของครูผู้สอนวิชาเคมี. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคมศาสตร์), 29(3), 228-239.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Daley, B. J. (2004). Using Concept Maps in Qualitative Research. Retrieved from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.133.6537&rep=rep1&type=pdf.
DeBoer, G. E. (2000). Scientific Literacy: Another Look at Its Historical and Contemporary Meanings and Its Relationship to Science Education Reform. J Res Sci Teach, 37(6), 582-601.
Lederman, N. G. (1992). Students’ and Teachers’ Conceptions of the Nature of Science: A Review of the Research. J Res Sci Teach, 29(4), 331-359.
Lederman, N. G., Abd-El-Khalick, F., Bell, R. L., & Schwartz, R. S. (2002). Views of Nature of Science Questionnaire: Toward Valid and Meaningful Assessment of Learners’ Conceptions of Nature of Science. J Res Sci Teach, 39(6), 497-521.
Novak, J. D. & Canas, A. J. (2008). The Theory Underlying Concept Maps and How to Construct and Use Them. Retrieved from https://eprint.ihmc.us/5/2/TheoryUnderlyingConceptMaps.pdf.
Park, S. & Chen, Y. (2012). Mapping Out the Integration of Components of Pedagogical Content Knowledge (PCK): Examples from High School Biology Classrooms. J Res Sci Teach, 49(7), 922-941.
Schwartz, R. & Lederman, N. (2008). What Scientists Say: Scientists’ Views of Nature of Science and Relation to Science Context. Int J Sci Educ, 30(6), 727-771.
Yager, R. E. (1991). The Constructivist Learning Model: Towards Real Reform in Science Education. Sci Teach, 58(6), 52-57.