การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ

บทคัดย่อ

        การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (research-based learning) เป็นเทคนิคหนึ่งในการสอนเชิงสร้างสรรค์  ถือเป็นหัวใจสำคัญของบัณฑิตศึกษาเพราะส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 รวมถึงสนับสนุนแนวคิดของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกทักษะ กระบวนการคิด ทักษะการจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาอีกด้วย อีกทั้งเป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ที่ผู้เรียนจะได้พัฒนาและสร้างขึ้นในตัว อันจะนำไปสู่คุณภาพของบัณฑิตที่พร้อมสำหรับสังคมฐานความรู้ต่อไปในอนาคต การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้กระบวนการวิจัย ซึ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและมีความหมายต่อตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

อาจารย์พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ

วุฒิการศึกษาสูงสุด ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา)

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ประจำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ความเชี่ยวชาญ ด้านการวิจัยทางการศึกษา

References

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้น (1991) จำกัด.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2537). การสอนแบบ Research Based Learning. วิธีวิทยาการวิจัย, 1(6), 1-14.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. Executive Journal มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(3), 26-30.

Baldwin, G. (2005). The teaching-research nexus: How research informs and enhances learning and teaching in the University of Melbourne. Retrieved from http://www.cshe.unimelb.edu.au.

Entwistle, N., Thompson, S., and Tait, H., (1992). Guidelines for Promoting Effective Learning in Higher Education. Scotland: Centre for Research on Learning and Instruction, University of Edinburgh.

Jenkins, A., Blackman, T., Lindsay. R., and Paton-Salzberg, R. (1998). Teaching and Research: students' perspectives and policy implications. Studies in Higher Education, 23(2), 127-141.

Srikoon, S., Bunterm, T., Samranjai, J., and Wattanathorn, J. (2014). Research Synthesis of Research-Based Learning for Education in Thailand. Procedia-Social and behavioral Sciences, 116(2014), 913-917.