การพัฒนาความเข้าใจมโนมติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการทดลองแบบสืบเสาะ เรื่อง การวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่มี CO2 เป็นผลิตภัณฑ์ด้วยเทคนิคการแทนที่น้ำ และนำมาจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความเข้าใจมโนมติแบบวินิจฉัยสองลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความเข้าใจมโนมติหลังเรียน (mean 28.32, S.D. 2.82, 70.80%) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 10.57, S.D. 3.18, 26.41%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และผลรวมร้อยละของนักเรียนในกลุ่มความเข้าใจมโนมติถูกต้องสมบูรณ์และถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ (SU+PU) เพิ่มขึ้นมา 47.33 ส่วนผลรวมในกลุ่มความเข้าใจมโนมติผิดและไม่มีความเข้าใจมโนมติ (MU+NU) ลดลงไป 42.34 แสดงว่า การทดลองแบบสืบเสาะที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเข้าใจมโนมติที่สอดคล้องกับมโนมติวิทยาศาสตร์มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
จินดา พราหมณ์ชู, เอกรัตน์ ศรีตัญญู และลัดดา มีศุข. (2553). การพัฒนาความเข้าใจเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารวิจัย มข., 15(4), 317-330.
เยาวเรศ ใจเย็น, เพ็ญศรี บุญสวรรค์ส่ง และนฤมล ยุตาคม. (2550). แนวคิดเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13(4), 541-553.
วิชัย ลาธิ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2556).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 24(1), 29-52.
วิทยา ภาชื่น และไพศาล สุวรรณน้อย. (2553). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงในมโนมติ เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(พิเศษ), 1-9.
ศักดิ์ศรี สุภาษร, นุจรี สุภาษร, วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์ และสนธิ พลชัยยา. (2559). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง สารละลาย ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะร่วมกับภาพเคลื่อนไหวระดับอนุภาคสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 28-47.
Bybee, R. W., Taylor, J. A., Gardner, A., Van Scotter, P., Powell, J. C., Westbrook, A., & Landes N. (2006). The BSCS 5E instructional model: Origins, effectiveness, and applications. Colorado Springs: BSCS.
Çalik, M., Ayas, A., & Coll, R.K. (2009). Investigating the effectiveness of an analogy activity in improving students’ conceptual change for solution chemistry concepts. International Journal of Science and Mathematics Education, 7(4), 651–676.
Coll, R.K., Dalgety, J., & Salter, D. (2002). The development of the chemistry attitudes and experiences questionnaire (CAEQ). Chemistry Education Research and Practice, 3(1), 19-32.
Chairam, S., Somsook, E., & Coll, R. E. (2009). Enhancing Thai students’ learning of chemical kinetics. Research in Science and Technological Education, 27(1), 95–115.
Hompromma, A., & Suwannoi, P. (2010). Grade 10 Thai students’ analogy for explaining rate of reaction. Proceeding from the 41st Australasian Science Education Research Association (pp 40-45). New South Wales, Australia: Dave Palmer.
Justi, R. (2003). Teaching and Learning Chemical Kinetics. In John, K. Gilbert, Onno De Jong, Rosária J., David, F. T., & Jan H. Van Driel (Series Ed.), Chemical Education: Towards Research-based Practice (pp. 293-315). Netherlands: Springer.
Mulford, D.R., & Robinson, W.R. (2002). An inventory for alternate conceptions among first-semester general chemistry students. Journal of Chemical Education, 79(6), 739-744.
Supasorn, S., & Promarak, V. (2015). Implementation of 5E inquiry incorporated with analogy learning approach to enhance conceptual understanding of chemical reaction rate for grade 11 students. Chemistry Education Research and Practice, 16(1), 121-132.