การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน(ภาษาจีน) สำหรับนิสิตชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Main Article Content

สิริภัทร เมืองแก้ว
กุลสิรินทร์ อภิรัตน์วรเดช

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book และ    3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรหัสวิชา2001103 วิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) ปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ t-test แบบ Dependent Samples


        ผลการวิจัย พบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 81.38/ 82.50 นิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์E-book รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้าน (ภาษาจีน) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book อยู่ในระดับดี ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.29 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 โดยผู้เรียนมีความเห็นว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน  เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเนื้อหาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2549). การประยุกต์ใช้อีเลิร์นนิงในการเรียนการสอนภาษาจีน. วารสารศึกษาศาสตร์, 1 (2), 33-48.

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(3), 15-26.

กำธร บุญเจริญ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บ 2 รูปแบบที่ต่างกัน เรื่อง การเขียนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี(ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไกรพ เจริญโสภา. (2554). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book วิชาการพิมพ์ดิจิทัลสําหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เขียน ธีระวิทย์ และคณะ. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: การศึกษานอกระบบ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทนา บรรจงดิษฐ์, สมาน เอกพิมพ์ และพุทธารัตน์ ทะสา. (2558). “การพัฒนาความสามารถภาษาจีนเพื่อการสื่อสารโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 65-73.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2532). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ธนาพร ปัญญาอมรวัฒน์ และอนุช สุทธิธนกูล. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียสำหรับการเรียนการสอนภาษาจีนพื้นฐาน. ใน การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 4 (น.34-43). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุทิน โรจน์ประเสริฐ. (2552). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพโฆษณา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. j. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Bellance, J. and Brandt., R. (2554). 21st century skills: Rethinking how students learn. USA: Solution Tree Press.

Gibbs, Lucas and Simonite. (1996). Class size and student performance: 1984 - 94. Studies in Higher Education, 21,(3). 261-273.

Gagne, M. R., Briggs, J.,L., and Wagar, W. (1974). The principles of instructional design (4th ed.). New York: Holt.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of behavioral science (1st ed.). New York: Van Norstrand.