การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีมผ่านกระบวนเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของนักเรียนห้องเรียนวิศว์-วิทย์ (โครงการ วมว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Main Article Content

ชนกานต์ โฉมงาม
รัฐกานต์ ณ พัทลุง
จินตนา วงศ์ต๊ะ
สุกัญญาพัฒน์ ดอกกุหลาบ
นิอร วินารักษ์วงศ์
วิทูร บุญโพธิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกิจกรรมค่ายในรูปแบบสะเต็มศึกษาและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกิจกรรมในด้านทักษะการคิด (soft skills) โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนเข้าใหม่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 26 คน  ห้องเรียนวิศว์-วิทย์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กิจกรรมในค่ายถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนในหลักสูตรที่มีการบูรณาการข้ามสาระวิชา หรือ story based learning นอกจากนั้นเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม ผลจากกิจกรรมพบว่า กิจกรรมลูกชุบทำให้นักเรียนได้สร้างชิ้นงาน (ลูกชุบ) ที่มีรูปร่างสีสัน แตกต่างจากขนมลูกชุบทั่วไป  สำหรับกิจกรรมสร้างชิ้นงานจากกระดาษ  ด้วยโจทย์ที่ให้นักเรียนออกแบบและสร้างโมเดลของกรุงเทพมหานครในอีก 100 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2658) เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนคิด จินตนาการซึ่งเป็นโจทย์เปิดที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี และเมื่อประเมินความคิดเห็นในกิจกรรมแลนด์มาร์ค คะแนนประเมินที่มากที่สุดคือ นักเรียนฝึกการทำงานเป็นทีม และสามารถรับฟังและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างของเพื่อนร่วมกลุ่มได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่ และ ศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการ

เรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 8(1) , 61-73.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร

Executive Journal, 33(2), 49-56.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: โอเพิลเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

วิชยา ปิดชามุก. (2559). โรงเรียนบันดาลใจ CREATIVE SCHOOLS. กรุงเทพฯ: โอเพิลเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

Ayob, A., Hussian, A., Mustafa, M. & Shaaranu, M.F.A.S. (2011). Nurturing Creativity and Innovative Thinking through Experiential Learning. Procedia Social and Behavioral Sciences, 18, 247-254.

Bellanca, J. & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills, Rethinking How Students learn. United States: Solution Tree.

Demir, S. & Sahin, F. (2014). Assessment of open-ended questions directed to prospective science teachers in terms of scientific creativity. Procedia Social and Behavioral Science, 152, 692-697.

Gallegos, P. J. & Peeters, J. M. (2011). A measure of teamwork perceptions for team-based learning. Currents in Pharmacy Teaching & Learning, 3, 30-35.

Guilford, J.P. & Hopefner, R. (1967). The analysis of intelligence.New York: McGraw-Hill book Company.

National Research Council. (2012). A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas by Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.

Ozyaprak, M. (2016). The Effectiveness of SCAMPER Technique on Creative Thinking Skill.

Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 4(1), 31-40.

Robinson, K. & Aronica, L. (2015). Creative Schools - The Grassroots Revolution That's Transforming Education. United States: Penguin Putnam Inc.

Reeve, E. M. (2013).Implementing Science, Technology, Mathematics, and Engineering (STEM) Education in Thailand and in ASEAN. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).

Stojanova, B. (2010). Development of creativity as a basic task of the modern educational system. Procedia Social and Behavioral Science, 2, 3395-3400.