การบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551

Main Article Content

วัยวุฒิ บุญลอย
มิ่งขวัญ คงเจริญ
ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
วิรุฬห์ นิลโมจน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ และ3)เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ระยอง นนทบุรีและสุราษฎร์ธานี คือ (1) ผู้บริหาร จำนวน 92 คน (2) ครู จำนวน 335 คน (3) บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 254 คน และ (4) ภาคีเครือข่าย จำนวน 92 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


        ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจาก (1) บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (3) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  2)ปัจจัยที่มีผลต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 พบว่า (1)ความรู้ความเข้าใจในบทบัญญัติแห่งกฎหมายของผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและภาคีเครือข่าย พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (2) เจตคติที่มีต่อการบังคับใช้แห่งกฎหมายพบว่ามีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) มาตรการการบังคับใช้แห่งกฎหมายพบว่ามีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้แห่งกฎหมาย พบว่า (1) ในการออกข้อกำหนดรองรับการบังคับใช้กฎหมายควรเน้นการมีส่วนร่วม และการใช้กฎหมายหลายฉบับในการปฏิบัติงานของ กศน. (2) การสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบัญญัติแห่งกฎหมายของผู้บริหาร บุคลากรกศน.และภาคีเครือข่าย ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจและการสร้างพัฒนาช่องทางการสื่อสาร (3) การสร้างเจตคติที่ดีต่อกฎหมายของผู้บริหาร บุคลากร กศน. และภาคีเครือข่าย ด้วยความเชื่อที่มีต่อกฎหมาย การกระตุ้นหรือใช้สิ่งเร้าและการใช้สื่อหรือการใช้เทคนิคเฉพาะต่าง ๆ ควรต้องหาวิธีการหรือสร้างเจตคติที่ดีต่อกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดิศกุล เกษมสวัสดิ์. (2550). มาทำความเข้าใจร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ......กันเถอะ. เข้าถึงจาก https://www.gotoknow.org/posts/102782.

ปรัศนีย์ เกศะบุตร. (2555). การรณรงค์ให้พลเมืองรู้หนังสือของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในช่วง พ.ศ. 2483-2487. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 31(1),143.

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม125 ตอนที่ 41 ก. เข้าถึงจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.

วนิดา แสงสารพันธ์, สุรพล นิติไกรพจน์, เอกศักดิ์ คงตระกูล, ชาลินี ถนัดงาน, พรพิมล บุญทวีเวช, สุนันท์ เอื้อเชิดกุล, เนติ รัตนากร และณัฐิกา นิตยาพร. (2551). โครงการศึกษากฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สนอง โลหิตวิเศษ. (2544). เอกสารประกอบการสอนวิชา กญ. 511ปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่ และหลักการการศึกษานอกระบบ: ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สนอง โลหิตวิเศษ. (2557). เอกสารปรับปรุงชุดวิชา 26301 การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบโครงร่างหน่วยที่ 9 กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตลอดชีวิตในต่างประเทศ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

สมพงษ์ จิตระดับ, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล และคณะ. (2556). รายงานการวิจัย เรื่องการประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ตามแนวพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: รังษีการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). การตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. เข้าถึงจาก http://61.19.241.70/rkj/uploadword/691240.doc.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2558). ความเป็นมาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. เข้าถึงจาก http://203.172.142.7/onie/index.php.

สำนักนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). รายงานการวิจัยการติดตามประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะ. (2556). รายงานการวิจัย เรื่องแนวทางและความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนภารกิจ บทบาท และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่อง การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต. กรุงเทพฯ: บริษัทนำทองการพิมพ์ จำกัด.

สุวิชา สุภามา. (2552). การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสาวณีย์ เลวัลย์. (2535). เอกสารประกอบการสอนวิชา กญ. 411 การวางแผนงานและการประเมินการศึกษาผู้ใหญ่ (AE 411 Planning and Evaluation in Adult Education) ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์. (2552). การประเมินการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.