การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการอ่านออกเสียงคำพื้นฐานสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการอ่านออกเสียง คำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ในกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาเครือข่ายแม่ริม 1 จำนวน 12 คน ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการอ่านออกเสียงคำพื้นฐานร่วมกันและการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาสาเหตุของปัญหาการอ่านออกเสียง คำพื้นฐาน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 412 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้ในการสำรวจข้อบกพร่องและหาคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการอ่านออกเสียงคำพื้นฐาน
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
- ได้แบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการอ่านออกเสียงคำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ฉบับ ๆ ละ 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ๆ ละ 10 ข้อ ตอนที่ 1 วัดความรู้ความเข้าใจ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และตอนที่ 2 วัดความสามารถในการอ่านออกเสียง
- คุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย พบว่า ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.40 – 0.92 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.82 ค่าความเชื่อมั่น 0.82, 0.82, 0.81, 0.80, 0.84, 0.83 และ 0.85 ตามลำดับ
Article Details
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กระทรวงการศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา ทนันไชย. (2549). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2554). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. (2557). รายงานประเมินผลการอ่านออก เขียนได้ ประจำปีการศึกษา 2557. เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2544). โครงการศึกษาคำพื้นฐานที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา พ.ศ.2529 – 2531. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
เครือข่ายแม่ริม 1. (2557). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนของกลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาเครือข่ายแม่ริม 1. เชียงใหม่: กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา.
บัวเรียว เมิดจันทึก. (2552). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
ผู้จัดการออนไลน์. (2557). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th.
ไพรประนอม ประดับเพชร. (2554). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา สถานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.
ไพศาล วรคำ. (2554). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
รัชสิรินทร์ ศรีแจ่มจันทร์. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2545). เอกสารประกอบการสอน กระบวนวิชา 055400 (การวัดและประเมินผลการศึกษาเบื้องต้น). เชียงใหม่: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ศุภวัฒน์ ชื่นชอบ. (2524). การสอนภาษาไทยในชั้นประถมศึกษา. เชียงใหม่: ภาควิชาประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สุนันทา วามะเกตุ. (2552). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องในการอ่านจับใจความ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุเทพ สันติวรานนท์. (2533). แบบทดสอบวินิจฉัยและแนวทางในการสร้าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 6, 67 – 73.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2538). เอกสารการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การสอนภาษาไทย ให้มีคุณภาพและธำรงคุณค่าภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
Geogia S., A., and Torgerson, T.L. (1964). Measurement and Evaluation in Education on Psychology and guidance. New York: Rinehart and Winston.
Angoff, W.H. (1971). Scales, norms and equivalent scores. In R.L. Thorndike, Educational Measurement. 2d ed. Washington D.C.: American Council on Education.
Boom, Benjamin S. (1971). Hand Book on Formation and Summative Evaluation of Student Learning.
New York: McGraw-Hill.
Gronlund, Norman E. (1976). Measurement and Evalaution in Feaching. New York: Macmillan Publishing.
Singha, H.S. (1974). Modern Education Testing. New Delhi: Sterling Publishing.