การสร้างแบบทดสอบเอ็มอีคิวเพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องการวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ณรฎา มธุรส
เกียรติสุดา ศรีสุข

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบเอ็มอีคิว เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเรื่องการวัด  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 202 คน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการทดลองได้มาโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือและความเชื่อมั่นได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยปรากฏว่าได้แบบทดสอบเอ็มอีคิวที่สร้างทั้งหมด 6 ชุด แต่ละชุดมี 30 ข้อ ใช้เวลาทำข้อสอบ 60 นาที โดยคุณภาพของแบบทดสอบมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดตั้งแต่ 0.83  ถึง 1.00  ความยากง่ายตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.70  อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.90  ความสอดคล้องระหว่างคะแนนจากการตรวจของผู้ตรวจ 2 คน มีค่าเท่ากับ 0.99 ความเที่ยงตรงเชิงสภาพ มีค่าเท่ากับ 0.90 และความเชื่อมั่น มีค่าเท่ากับ 0.92 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัด เท่ากับ ± 2.38 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กิจประมุข ตันตยากรณ์. (2548). อีกทางเลือกหนึ่งของการวัดผล : Modified Essay Question (MEQ). พัฒนาเทคนิคศึกษา, 17, 54.

ฉลอง สวัสดี. (2538). การสร้างแบบทดสอบความเรียงประยุกต์(เอ็ม อี คิว) วัดความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ต่าย เซี่ยงฉี. (2523). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. เชียงใหม่: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงค์รัก ไทธานี. (2542). การสร้างแบบทดสอบเอ็ม อี คิว ที่ดำเนินการสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พวงทิพย์ โพธิ์ซอ. (2535). การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามเทคนิค เอ็ม อี คิว (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2535). วิธีวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.

ลักษมี จันทราช. (2544). การเปรียบเทียบคุณภาพแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์ (MEQ) และแบบทดสอบเลือกตอบ(MCQ)เพื่อวัดความสามารถในการแก้ปัญหา (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วาสนา ไกรแก้ว. (2556). การสร้างแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัญญา วิศาลาภรณ์. (2533). การสร้างแบบทดสอบเพื่อการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วงษ์สันติ แสงดอกไม้. (2540). ผลของการใช้แบบทดสอบเอ็ม อี คิว ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษษ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพร ทิพย์คง. (2556). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.

สมนึก ภัททิยธนี. (2556). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สายหมอก ขุนศุกดา. (2543). การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชันตรีโกณมิติ และกำหนดการเชิงเสนตามเทคนิคเอ็ม อี คิวในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5(ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. (2557). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2557. เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. (2560). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2560. เชียงใหม่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. (2556). การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค ลาดพร้าว.

สุพัฒตา ภูสอดสี. (2553). การสร้างแบบทดสอบเอ็ม อี คิว วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ( ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อำมาลา สารชาติ. (2548). การพัฒนาแบบสอบเอ็ม อี คิว สำหรับวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Ebel, Robert. L. (1995). Measuring Educationnal Achievment. New Jersey: Prent. Ice –hall.