การรับรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมค่านิยม 12 ประการของครูอาจารย์ในสถานศึกษา ในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

สรียา โชติธรรม
ณัฐพล แจ้งอักษร
สุวิมล ว่องวาณิช

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการให้ความสำคัญและความคิดเห็นต่อการส่งเสริมค่านิยม 12 ประการของครูอาจารย์ 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ของครูอาจารย์เกี่ยวกับการส่งเสริมค่านิยม 12 ประการในสถานศึกษาก่อนและหลังประกาศนโยบายค่านิยม 12 ประการ และ 3) ศึกษาระดับค่านิยม 12 ประการของผู้เรียนตามการรับรู้ของครูอาจารย์ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูอาจารย์ในเขตภาคเหนือ จำนวน 984 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการรับรู้และการส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสำหรับครู ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูอาจารย์ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมค่านิยม 12 ประการทั้ง 12 ข้อในระดับมาก และเห็นด้วยต่อการส่งเสริมค่านิยม 12 ประการในประเด็นต่างๆ อยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก 2) ครูอาจารย์รับรู้ว่าสถานศึกษาส่งเสริมค่านิยม 12 ประการหลังประกาศนโยบายสูงกว่าก่อนประกาศนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ครูอาจารย์เห็นว่าในภาพรวมผู้เรียนมีค่านิยม 12 ประการอยู่ในระดับมาก ยกเว้นข้อ 4 ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม และข้อ 10 รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ผู้เรียนมีค่านิยมอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานศึกษาธิการภาค. (2559). ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานทางการศึกษาปี 2559. เข้าถึงจาก http://www.reo15.moe.go.th/reo15/images/ict/data60/reportdata591516.pdf.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ธาวิน อัครเมธายุทธ, สุทัศน์ คร่ำในเมือง และพิธาน พื้นทอง. (2559). ศึกษากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18, 54 – 66.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พระพงศธร ฐิตมโน. (2556). หลักธรรมที่ส่งเสริมความกตัญญูกตเวทีในสังคมไทย. เข้าถึงจาก http://nkr.mcu.ac.th/2556/index.php/en/component/attachments/download/62.html.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: Openworlds.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุพรรณี ชะโลธร และเกษมวัฒน์ เปรมกมล. (2553). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประสานมิตร.

สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2560). รายงานการวิจัย (ร่าง) การติดตามและประเมินการส่งเสริมค่านิยมของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักโฆษกกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์. (2557). รายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงจาก http://www.thaigov.go.th/index.php/th/program1/item/84701-id84701.

สำนักงานเขตพื้นที่ทางการศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1. (2557). การขับเคลื่อนค่านิยมหลัก 12 ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา. เข้าถึงจาก

http://www.phitsanulok1.go.th/data_2.php?id_data=65&name_group=%A4%E8%D2%B9%D4%C2%C1%CB%C5%D1%A1%20%F1%F2%20%BB%C3%D0%A1%D2%C.