การบริหารจัดการคุณภาพอาจารย์เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรม ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

ชัชชญา พีระธรณิศร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะอภิปรายความสำคัญของการบริหารจัดการคุณภาพอาจารย์เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีแนวคิดถึงการมีคุณภาพอาจารย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ในศาสตร์การสอนและพัฒนาตนเองแล้ว การประพฤติปฏิบัติจะต้องมีคุณธรรมกับหน้าที่ จุดเริ่มต้นจะต้องมีคุณธรรมทางสติปัญญาและมีศีลธรรมภายในจิตใจซึ่งมีสาระครอบคลุมถึงกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพอาจารย์เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรมอย่างมีคุณภาพหรือวงจรคุณภาพ (PDCA) คุณภาพอาจารย์เป็นหัวใจสำคัญในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมๆกับคุณธรรม จริยธรรม ด้วยเช่นกัน ในบทความนี้ ผู้เขียนนำเสนอถึงกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพอาจารย์ เพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกษม วัฒนชัย. (2557). เปิดแนวทางขับเคลื่อนความดี สู่สถาบันอุดมศึกษา. คม ชัด ลึก (19 มิถุนายน 2557) : 11.
คติไทย.(2560) รูปแบบการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนิสิตนักศึกษาด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตร. (ออนไลน์) : eduserv.ku.ac.th. 3 มิถุนายน 2560.
ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2543). คุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ.รายงานวิจัยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน).
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. สัมภาษณ์, 7 สิงหาคม2558.
นฤมล โอสถานุเคราะห์. (2550). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (Online).http: //grad.snru.ac.th/file_thesis1292473821, 3 มิถุนายน 2557.
พรชัย มงคลวนิช. (2557). จับมือ 61 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสร้างค่านิยมคนดีมีคุณธรรม. (Online): www.thairath.co.th/content/430584, 19 มิถุนายน 2557.
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก.(2551). การยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของสังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม: แนวทางและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2555). แนวคิดการบริหารและการจัดการบริหารและการบริหารจัดการ (Online). www.wiruch.com/.../article, 5 กรกฎาคม 2557.
วิทยากร เชียงกูล. (2559). สภาวะการศึกษาไทยปี 2557-2558จะปฏิรูปการศึกษาไทย ให้ทันโลกในศตวรรษที่21 ได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555) . ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้: ข้อเสนอผลการวิจัยเพื่อการพัฒนาและการวิพากย์. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์. (2556). รายงานวิจัย เรื่องรูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาครูยุคใหม่ . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. สัมภาษณ์ 25 สิงหาคม 2558.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์.(2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560).โครงการประชุมสัมมนา เรื่อง “การพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้( Learning Outcomes )และนำสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ”. เอกสารประกอบสัมมนา, 27 กันยายน 2560.
Baumgart, N. (1987). Equity, Quality and Cost in Higher Education. Bangkok : UNESCO
Principal Regional Office For Asia and the Pacific,
(online): http://th.wikipedia.org/wiki/PDCA. 5 กรกฎาคม 2557.
Deming, Edward W.(1995). Out of The Crisis. USA: The Massachusetts Institute of
Technology Center for Advanced Engineering Study.
Dessler, G and A. Miler. (1993). Strategic Management. Singapore: McGraw-Hill.
Hoffman. (1979). “Development of Moral though, feeling and Behavior” in American Psychologist.
Kohlberg, L. (1975). Moral Education for Society. Moral-Transition Education Leadership.
Mehrens, W.A. and I.J. (1973). Measurement and Evaluation in Education and
Psychology. New York : Holt, Rinechart and Winston. Stanley, J.C.
Scriven, Michael.(1993). Duties of the teacher. Klamazoo: Ellsworth Hall.