การพัฒนาบทเรียน e-Learning รายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

Main Article Content

ทรงยุทธ ต้นวัน

บทคัดย่อ

 


                     การวิจัยครั้งนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน   และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียน e-Learning ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  วิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร


                        กลุ่มประชากรที่ศึกษา  นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 รวมนักศึกษาทั้งหมด  60  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ  แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาวิเคราะห์  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS  FOR  WINDOWS


                         ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01

  2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียน E-Learning วิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม อยู่ในระดับมาก

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ally, M. (2004). Foundations of educational theory for online learning. In Terry (Ed.),
The theory and practice of online learning (pp. 3−31). (2nd ed). Athabasca, AB:
Athabasca University. Retrieved from https://desarrollo.uces.edu.ar:8180/dspace/
bitstream/123456789/586/1/Theory%20and%20Practice%20of%20online%20learning.pdf#page=227
Hiltz, S. R., & Turoff, M. (2005). Education goes digital: The evolution of online learning
and the revolution in higher education. Communications of the ACM, 48(10), 59−64,
doi:10.1145/1089107.1089139
Oblinger, D. G., & Oblinger, J. L. (2005). Educating the net generation. EDUCAUSE.
Retrieved from. https://net.educause.edu/ir/library/pdf/pub7101.pdf
Shea, R.H. (2002). E-learning today—As an industry shakes out, the survivors offer no-frills education for
grown-ups. U.S. News & World Report. October 28, 2002.
กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจโดยการใช้การสอนแบบ
e–Learning. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน, คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2555). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21, 100 -113.