การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา)

Main Article Content

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  เพื่อประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา) ตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ทางด้านหลักสูตรและการสอน ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6      ปีการศึกษา 2559 รวม 39  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ  ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โปรแกรมการศึกษานานาชาติขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา) ในแต่ละด้านดังนี้ 1. ด้านบริบท ผลการประเมินด้านบริบทในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88 S.D. = 0.08) 2. ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินด้านบริบทในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.72 S.D. = 0.04) 3. ด้านกระบวนการ ผลการประเมินด้านบริบทในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.51 S.D. = 0.10) และ 4. ด้านผลผลิต ผลการประเมินด้านผลผลิตในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.64 S.D. = 0.04) จากผลการประเมินมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมิน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลิ่น สระทองเนียม. (2559). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กปัญหาคุณภาพคนรากหญ้า...สู่ปัญหาชาติ. เข้าถึงจาก https://www.dailynews.co.th/education/381296.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลวรินทร์ ญานประภาส (2555). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนชลกันยานุกูล จังหวัดชลบุรี(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จรรยา ดาสา, ณสวรรค์ ผลโภค, ธีรพงศ์ แสวงประดิษฐ์ และสมปรารถนา วงศ์บุญหนัก. (2553). การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา (แผน ข.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้น จำกัด.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. (2557). คู่มือนักเรียน ผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิต“พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2557. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชัย ดิสสระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร พิศาลบุตร.(2543). หลักการวางแผน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารและตำรา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company.

Likert, R. (1967). The human organization. New York: McGraw-Hill.

Stuffebbeam, D.L. (2003). The CIPP model for evaluation. In paper presented the 2003 Annual Conference of the Oregon program Evaluation Network (OPEN). Portland: Oregon.

Stufflebeam, D.L. (1971). The relevance of the CIPP evaluation model for educational accountability. Journal of Research and Development in Education, 5(1), 19-25.

Stufflebeam D. L. et al. (1971). Education and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock Publisher.

Stufflebeam, D.L., Gulickson, A. and Wingate, L. (2002). The Spirit of Consuelo: An Evaluation of Ke Aka Hòona. The Evaluation Center, Western Michigan University.

Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco: Jossey-Bass.