แนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วม หลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41

Main Article Content

ณัฐภรณ์ พันธวงค์
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์        แนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


          แนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย         (ทวิศึกษา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พบว่า มีจำนวนทั้งหมด 21 แนวทาง โดยมีขอบข่ายเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ประเภทวิชา สาขาวิชา สาขางาน ด้านการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการเทียบโอนผลการเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เข้าถึงจาก http://www.ops.moe.go.th.

คำภาสน์ บุญเติม. (2561). ปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

แจ่มจันทร์ ยองเพชร. (2561). การบริหารเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 24(2), 155-173.

ชลธาร สมาธิ. (2561). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอน ปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เชี่ยวชาญ ดวงใจดี. (2562). แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการหลักสูตรทวิศึกษาการเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 581-595.

รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(1), 147-168.

สมเดช ดอกดวง. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา)กรณีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 32 กับวิทยาลัยสารพัดช่าง จังหวัดอุบลราชธานี. (รายงานการศึกษาส่วนบุคคล), กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพงศ์ ธิดาราม. (2559). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรแบบทวิศึกษาของโรงเรียนบ้านโคกวิทยาค สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. (การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (2561). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 41. กำแพงเพชร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560 – 2579. เข้าถึงจาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2559 - 2560. เข้าถึงจาก http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1634-file.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (ฉบับย่อ). เข้าถึงจาก https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf.

อรวรรณ คำงาม. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารจัดการหลักสูตร อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดลำปาง. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.