ผลการใช้หนังสือนิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้นิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนบ้านปงสนุก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง จำนวน 41 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ นิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยจำนวน 17 เล่ม และแบบวัดทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีทั้งหมด 2 สถานการณ์ ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ 1 ประเมินทักษะชีวิต ด้านการรับผิดชอบและและด้านการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น สถานการณ์ที่ 2 ประเมินทักษะชีวิต ด้านการคิดวิเคราะห์และด้านการแก้ปัญหาที่ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ( .) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยโรงเรียนบ้านปงสนุกหลังการเล่านิทานส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 0.85 หลังการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 1.80 โดยแยกเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านความรับผิดชอบ มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรับผิดชอบก่อนการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 1.08 หลังการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.80 ด้านการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น มีคะแนนเฉลี่ยด้านการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นก่อนการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 0.80 หลังการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.72 ด้านการคิดวิเคราะห์ มีคะแนนเฉลี่ยด้านการคิดวิเคราะห์ก่อนการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 0.71 หลังการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.53 ด้านการแก้ปัญหา มีคะแนนเฉลี่ยด้านการแก้ปัญหาก่อนการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 0.82 หลังการเล่านิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.76
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักประสานและพัฒนาการจัดการการศึกษาท้องถิ่น. (2550). คู่มือแนวทางการจัด การศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
เกริก ยุ้นพันธ์. (2543). การเล่านิทาน(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. ทักษะทางสังคมใครว่าไม่สำคัญ. เข้าถึงจาก http://www.kriengsak.com/components/content/print.php?id_content_category.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). สรุปรายงานผลการประชุมสัมมนายุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคุรุสภาแห่งชาติ.
ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. (2543). การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ฉะเชิงเทรา: สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา.
จิราพร ปั้นทอง. (2550). ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบการเชิดหุ่นมือ(ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2556). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บวร งามศิริอุดม. (2554). ความหมายและความสำคัญของนิทาน. เข้าถึงจาก https://sites.google.com/site/phisan13bird/bthkhwam/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-nithan.
ประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร. (2556). สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life Skills). เข้าถึงจาก http://taamkru.com/th/สอนลูกให้มีทักษะชีวิต (Life Skills).
มหาวิทยาลัยพายัพ. (2551). เทคนิคการเล่านิทาน. เข้าถึงจาก http://www.Courseware.payap.ac.th/docu/th402/2%20infermation/b5p1.html.
ระพีพรรณ พัฒนาเวช. (2556). เด็กกับการพัฒนาทักษะชีวิต. เข้าถึงจาก http://www.taiwisdom.org/artclnchdev/lfskll/chddvpartcl04.
วิจารณ์ พานิช. (2555). สร้างทักษะให้ผู้เรียนพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
วิเชียร เกษประทุม. (2548). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: พ.ศ.พัฒนาพิมพ์.
สมศักดิ์ ปริปุณะ. (2542). นิทาน ความสำคัญและประโยชน์. ,มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 2: 47 – 64. เข้าถึงจาก http://www.archs.bsru.ac.th/pdf_files/b_mayjun44.pdf.
สายทิพย์ บำบัดภัย. (2552). ผลของการเล่านิทานก่อนนอนโดยพ่อแม่ที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมในเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาชาติ (พ.ศ. 2545 – 2559): ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุมสาระการเรียนรู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Bee Helen. (1975). Moral Development. United States of America: The Developing Child London.