สภาพการจัดการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

คณิเทพ ปิตุภูมินาค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางปรากฎการณ์วิทยาซึ่งเน้นการตีความจากประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลจำนวน 49 คน (N=49) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ สังเกต และข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยนำเสนอประเด็นหลัก (theme) และประเด็นรอง (subtheme) ได้แก่ 1) สภาพด้านคุณภาพการศึกษา เกี่ยวข้องกับ นโยบายของสถาบัน ความพร้อมของผู้เรียน การปรับตัวของผู้สอน และสิ่งสนับสนุนการสอน 2) สภาพด้านการพัฒนาหลักสูตร เกี่ยวข้อง กับกรอบมาตรฐาน ศักยภาพของอาจารย์ผู้สอน ความสอดคล้องกับสังคม ความนิยมดนตรีของสังคม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ 3) สภาพด้านทัศนคติของผู้เรียน เกี่ยวข้องกับ การเปิดโลกทัศน์ และความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และ 4) สภาพด้านการประกอบอาชีพ เกี่ยวข้องกับความหลากหลายของอาชีพ ความต้องการความรู้ที่หลากหลาย วุฒิการศึกษา และข้อจำกัดในการประกอบอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณิเทพ ปิตุภูมินาค. (2556). ศิลปะความเป็นมืออาชีพของครูดนตรีในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษกร สําโรงทอง. (2549). ความเชื่อ และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีไทย ภาคเหนือ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาทิต สุวรรณสมบูรณ์. (2547). แนวโน้มของการศึกษาดนตรีระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สถานพับลิเคชั่น.

วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช. (2556). กระบวนการกลายเป็นชายของของวิชาดนตรีในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน : วิธีศึกษาแนวโบราณคดีความรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ”. ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ), การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). สกอ.เตรียมพร้อมผลิตบัณฑิตไทยในศตวรรษที่ 21 (จดหมายข่าว), 2 (27),2.

อนุรักษ์ บุญแจะ. (2556). กระบวนการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการสอนดนตรีในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Bowman, W. (2003). Re-Tooling “Foundations” to address 21st century realities: Music education amidst

diversity, plurality, and change. Action, Criticism, and Theory for Music Education, 2, 2-32.

Chandransu, N. (2010). The development of music education in Thailand's higher education. (Unpublished doctoral dissertation). Mahidol University.

Creswell, J. W. (2008). Education research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Elliott, D. J. (2005). Introduction. Praxial Music Education. N.Y.; Oxford University.

Manen, M. v. (2003). Researching lived experience (2nd ed.). London, Ontario: Althouse Press.

Thuntawech, S. (2017). The IDEAL THAILAND music institute in higher education in the 21st century. (Unpublished Doctoral dissertation). Mahidol University, Nakonprathom.

Trakarnrung, S. (2007). Envisioning Doctoral Music Education For 21st Century Thailand. (Unpublished doctoral dissertation) University of Toronto, Canada.

Webb, M. (2008). Gilles Apap's Mozart cadenza and expanding musical competences of twenty-first-century musicians and music educators. Music Education Research, 10(1),15-39.