การใช้แบบจำลองและการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศศิมน ศรีกุลวงค์
ลฎาภา ลดาชาติ

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์โดยการเขียนคำอธิบายและการวาดภาพแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 คน โดยใช้แบบวัดการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งเป็นข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 4 ข้อ โดยให้นักเรียนเขียนอธิบายคำตอบพร้อมทั้งวาดภาพแบบจำลอง จากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาในการเขียนอธิบายตามองค์ประกอบของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 3 องค์ประกอบ คือ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐาน และการให้เหตุผล และจัดกลุ่มตามเกณฑ์การประเมินความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และในส่วนของการวาดภาพแบบจำลอง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ภาพแบบจำลองของนักเรียนว่ามีการแสดงถึงองค์ประกอบของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ใด ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูง ปานกลาง และต่ำ คิดเป็นร้อยละ 6.66 26.67 และ 66.67 ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 3 องค์ประกอบพบว่านักเรียนมีการระบุองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างมากที่สุด รองลงมาคือหลักฐาน และการให้เหตุผล ตามลำดับ และการวาดภาพแบบจำลองพบว่านักเรียนวาดภาพแบบจำลองที่แสดงถึงองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างมากที่สุด รองลงมาคือองค์ประกอบหลักฐาน และไม่มีนักเรียนคนใดเลยที่วาดภาพแสดงถึงองค์ประกอบการให้เหตุผล จึงกล่าวได้ว่าการวาดภาพแบบจำลองสามารถใช้เพื่อสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการแสดงถึงองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างและหลักฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.

กฤตกร สภาสันติกุล. (2559). ผลของกลวิธีการสอนเคมีโดยใช้การทำนาย การสังเกต การอธิบายอย่างมีขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(1), 219-237.

จงกล บุญรอด. (2558). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง MORE ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(2), 238-248.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสืบสอบแบบโต้แย้งและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 232-248.

พัณนิดา มีลา. (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 1-15.

พุทธริธร บูรณสถิตวงศ์. (2560, กรกฎาคม 20-21). การสำรวจสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์และสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและหลักฐานในเชิงวิทยาศาสตร์ ตามกรอบการประเมินของ PISA 2015 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. การประชุมจัดโดยกองบริหารการวิจัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก.

ลฎาภา สุทธกูล และลือชา ลดาชาติ. (2556). แบบจำลองทางความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับแม่เหล็กและแรงแม่เหล็ก. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 90-105.

ลือชา ลดาชาติ และโชคชัย ยืนยง. (2559). สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ไทยควรเรียนรู้จากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2), 108-137.

สันติชัย อนุวรชัย. (2553). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบร่วมกับกลวิธีการโต้แย้งที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันติชัย อนุวรชัย. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.,7(2), 1-14.

Berland, L. K., & Reiser, B. J. (2009). Making sense of argumentation and explanation. Journal of Science Education, 93(1), 26-55.

Bayer, L. W., & Davis, H. T. (2008). Fostering second graders' scientific explanations: A beginning elementary teacher's knowledge beliefs and practice. Journal of the Learning Sciences, 17(3), 381-414.

Hui, J. (2015). A US-China interview study: Biology students’ argumentation and explanation about energy consumption issues. International Journal of Environmental & Science Education, 10(3), 301-318.

Ionas, I. G. (2012). Prior knowledge influence on self-explanation effectiveness when solving problems: An exploratory study in science learning. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 24(3), 349-358.

Shemwell, J. T. (2015). Seeking the general explanation: A test of inductive activities for learning and Transfer. Journal of Research in Science Teaching, 52(1), 58-83.

Ruiz-Primo, M. A. (2008). Testing one premise of scientific inquiry in science classrooms: A study that examines students’ scientific explanations. Journal of Research in Science Teaching, 47(5), 583-608.

Skoumios, M., & Hatzinikita, V. (2008). Investigating the structure and the content of pupils’ writtenexplanations during science teaching sequences focused on conceptual obstacles. Themes in Science and Technology Education, 1(2), 135-155.

Gilmanshina, S. I. (2015). The feature of scientific explanation in the teaching of chemistry in the environment of new information of school students’ developmental education. International Journal of Environmental & Science Education, 11(4), 349-358.

Saglam, Y. (2014). Creating a taken-as-shared understanding for scientific explanation: Classroom norm perspective. International Journal of Education in Mathematics Science and Technology, 2(2), 149-163.