ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พัชราพร จามรี
ลฎาภา ลดาชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณแบบเลือกตอบ 40 ข้อร่วมกับการให้เหตุผลประกอบการเลือกคำตอบ ซึ่งวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5 ด้าน ตามกรอบแนวคิดของ Watson and Glaser (2006) ได้แก่ (1) การระบุข้อตกลงเบื้องต้น (2) การประเมินข้อโต้แย้ง (3) การใช้เหตุผลเชิงนิรนัย(4) การสรุปอ้างอิง และ (5) การตีความ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาคะแนนร้อยละเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจัดกลุ่มระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณออกเป็นระดับดีมาก ดีพอใช้ และไม่มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนทำคะแนนร้อยละเฉลี่ย ได้เท่ากับ 48.28 เมื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน พบว่า ด้านการระบุข้อตกลงเบื้องต้นมีคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการประเมินข้อโต้แย้ง ด้านการใช้เหตุผลเชิงนิรนัย ด้านการสรุปอ้างอิง และด้านการตีความ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปรับปรุง อย่างไรก็ตาม แนวทางการจัดการเรียนรู้ควรจะได้รับการปรับปรุงเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระ ภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2561). การสอนคิดวิจารณญาณ. วารสารราชพฤกษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,16(3), 1-9.

วราพรรณ สุกมาก อาพัทธ์ เตียวตระกูล และอังคณา อ่อนธานี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอันล้ำค่าสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 172-186.

วัชรพล จันทรวงศ์ และชนินันท์ พฤกษ์ประมูล. (2562). ความสามารถและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในเนื้อหา ฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 15-30.

ลือชา ลดาชาติ, มนัส ภูทวี และลฎาภา ลดาชาติ. (2562). สมมติฐานต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาหมอกควัน ในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 6,116-160.

Arsalan Mujahid Ghouri. (2011). ENVIRONMENTAL POLLUTION: ITS EFFECTS ON LIFE AND ITS REMEDIES. International Refereed Research Journal, 2(2), 276-285.

Dede, C. (2010). Comparing frameworks for 21st century skills. In J. Bellance, & R. Brandt (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn (pp. 51-76). Bloomington: Solution Tree Press.

Dwyer, C. P., Hogan, M. J., & I. Steward. (2011). The evaluation of argument mapping as a learning tool: comparing the effects of map reading versus text reading on comprehension and recall of argument. Thinking Skill and Creativity journal, 5(1), 16-22.

Facione, P. A. (1990). Critical thinking: a statement of expert consensus for purposes of educational assessment and instruction. California: The California Academic Press.

Halil I. brahim Akyz et al. (2009). The effects of blended learning environment on the critical thinking skills of students. Procedia Social and Behavioral Sciences 1, 1744-1748.

Holmes, N. G., Wieman, C. E., & Bon, D. A. (2015). Teaching Critical Thinking. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 112(36), 11199-11204.

Judith A, Boss. (2010). Think: Critical Thinking and Logic Skill for Everyday Life, New York: McGraw-Hill Companies Inc.

Koh, K. H., Tan, C., & Ng, P. T. (2012). Creating thinking schools through authentic assessment: The case in Singapore. Educational Assessment Evaluation and Accountability, 24(2),1-15.

O’Brien, T.L. (2013). The Development of Critical Thinking Skills. Action Research seminar, Franklin Pierce University.

Pretek, E., & Bedir, H. (2018). An Adaptable Teacher Education Framework for Critical Thinking in Language Teaching. Thinking Skills and Creativity, 28, 56-72.

Sarita Cargasa Sheri Williamsb & Martina Rosenberg. (2017). An approach to teaching critical thinking across disciplines using performance tasks with a common rubric. Thinking Skills and Creativity, 26, 24-37

Williams, D. P. and McKenzie, K. J. (2013). Context and problem-based learning: an integrated approach. Paper presented at 5th Eurovariety in Chemistry Education. Limerick: University of Limerick.