แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

วรวุฒิ เพ็งพันธ์
ณัฐพงศ์ จำเนียรผล
เกรียงศักดิ์ บุญญา
ศุภัครจิรา พรหมสุวิชา

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการสร้างหุ่นยนต์สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ศึกษาคือโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ครู 15 คนและการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลโดยเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการสร้างหุ่นยนต์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ คุณลักษณะของผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ตามหลักสะเต็มศึกษา มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสนใจในเรื่องหุ่นยนต์ คุณลักษณะของผู้สอนต้องกระตือรือร้น เข้าใจหลักสะเต็มศึกษา ต้องมีทักษะการบูรณาการความรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และลักษณะของวิธีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) ของกระบวนการ PDCA ในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเรียนรู้ด้านการสร้างหุ่นยนต์เป็นสำคัญ 2) แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์ได้รูปแบบเป็น ROBOTIC MODEL ซึ่งประกอบไปด้วยบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Role of stakeholders: R) การกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมาย (Objective: O) การทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ (Benefit: B) การสร้างโอกาสอย่างเหมาะสม (Opportunity: O) การทำงานประสานร่วมกัน (Team work: T) การบูรณาการองค์ความรู้ (Integration: I) การสร้างความท้าทาย (Challenge: C)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ สิริวัฒน์โสภณ. (2559). ผลการเตรียมความพร้อมครูที่มีต่อชีวิตการทำงานครูในยุคดิจิทัลและผลที่ตามมา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2555). การพัฒนาชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบ บูรณาการตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วารสารศึกษาศาสตร์, 23(1), 144-159.

ทรงยุทธ ต้นวัน. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ ทำงานเป็นทีมและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รายวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 16-27.

ธนิก คุณเมธีกุล .(2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประไพ ฉลาดคิด. (2548). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: เกษมศรี ซี.พี.

พงศ์แสน พิทักษ์วัชระ.(2557). พื้นฐานของหุ่นยนต์: กลศาสตร์ของหุ่นยนต์แบบอนุกรม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พฤฒยา เลิศมานพ และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2557). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาใน ทศวรรษที่สอง ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. An Online Journal of Education, 9(3), 476-482.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (6-8 พฤษภาคม 2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. ในรายงานการศึกษาประกอบการ ประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”. การประชุมจัดโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน, อิมแพค เมืองทองธานี.

พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 50-59.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุจิตรา เขียวศรี. (2550). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบบนเว็บวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การช่วยเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาวรรณ เครือพานิช .(2552). กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วารสารวิชาการ, 12(1), 23-26.

สุปรีย์ บูรณะกนิษฐ. (2556). ผลของการใช้เทคโนโลยีเสริมศักยภาพที่แตกต่างกันในการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในการโปรแกรมหุ่นยนต์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตย์ ฉิมกุล .(2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lunenburg F.C. (2011). Instructional Planning and Implementation: Curriculum Goals and Instructional Objectives. National FORUM Journals, 2, 1-4.

McLurkin J., Rykowski J., John M., Kaseman Q., Lynch A.J. (2013). Using Multi-Robot Systems for Engineering Education: Teaching and Outreach with Large Numbers of an Advanced, Low-Cost Robot.IEEE Transactions on Education, 56(1), 24-33.