เคมู้ก : แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัลของเกาหลีใต้

Main Article Content

เอกพล ดวงศรี
ออม ฮยอนจู

บทคัดย่อ

การเรียนรู้ในปัจจุบันเป็นการเรียนรู้แบบเปิดและเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่าง ไร้ข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่ ด้วยการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ปัจจุบันจึงมีแหล่งการเรียนรู้สมัยใหม่เกิดขึ้นเพื่อก้าวทันยุคดิจิทัล คือ คอร์สการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิด (มู้ก) เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ตอบสนองผู้เรียนในยุคดิจิทัล เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีการพัฒนานโยบายและนวัตกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญ คือ “เคมู้ก” แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสถาบันแห่งชาติเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์ประกอบของแพลตฟอร์มเคมู้ก ประกอบด้วย 1) หน้าแรก2) รายวิชาและคำอธิบายรายวิชา 3) เนื้อหาบทเรียน 4) แบบทดสอบ 5) แบบฝึกหัดและแบบมอบหมายงาน 6) กระดานสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 7) ประกาศนียบัตรหรือเอกสารรับรอง ความเปลี่ยนแปลงและความน่าสนใจของระบบเคมู้ก คือ การเปลี่ยนบรรยากาศและการสร้างนิเวศการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากแพลตฟอร์มออนไลน์แบบเดิมที่ผู้เรียนรู้สามารถฟังและดูการบรรยายได้เท่านั้น แต่เปลี่ยนแปลงไปสู่การที่ผู้เรียนสามารถมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับผู้บรรยายได้ มีการอภิปราย ซักถามร่วมกันกับผู้บรรยายและผู้ร่วมเรียนคนอื่น ๆ ได้ รวมทั้งการทำแบบทดสอบและการมอบหมายงาน มีเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ทั่วประเทศ นวัตกรรมนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการสร้างนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในยุคดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2562). หลักสูตรและการเรียนรู้แบบดิจิทัล. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20, 200-211.

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1, 46-70.

ชุติพร อนุตริยะ. (2560). MOOC กับการศึกษาไทย โอกาสและความท้าทาย. เข้าถึงจาก

https://med.mahidol.ac.th/nursing/ACNER/admin/file_doc/20170806111550.pdf.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2554). สถานภาพและบทบาทการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุมาลี สังข์ศรี. (2543). การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อาชัญญา รัตนอุบล (2558). การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปรัชญา แนวคิด และหลักการของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็น ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพล ดวงศรี. (2563). นโยบายและนวัตกรรมของเกาหลีใต้กับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล. วารสารการศึกษาไทย, 17, 54-70.

Bagnall, R. G. (2000). Lifelong learning and the limitations of economic determinism. International Journal of Lifelong Education, 19, 20-35.

Delors, J. (1996). Learning, the treasure within. Paris: International Commission on Education for the Twenty-first Century, Unesco.

Häggström, B. M. (2003). The Role of Libraries in Lifelong Learning: Final Report of the IFLA Project under

the Section for Public Libraries. Retrieved from http://www.ifla.org/publications/the-role-of-libraries-in-lifelong-learning.

Mathieu, P. (2013). MOOC Poster. Retrieved from https://www.flickr.com/photos/mathplourde/8620174342/in/photostream.

National Institute for Lifelong Education (NILE). (2017). National Institute for Lifelong Education. Retrieved from http://nile.or.kr/index.jsp.

National Institute for Lifelong Education (NILE). (2018). 2018 NILE Brochure. Retrieved from

http://www.nile.or.kr/eng/.

National Institute for Lifelong Education (NILE). (2018). 2018 Lifelong Learning in Korea Vol. 1. Retrieved from

http://lcn.pascalobservatory.org/pascalnow/pascal-activities/news/lifelong-learning-korea-june-2018-nile.

National Institute for Lifelong Education (NILE). (2020). K-MOOC. Retrieved from www.kmooc.kr.

Yuan, L. (2015). MOOCs and open education timeline. Retrieved from

http://blogs.cetis.org.uk/cetisli/2015/05/11/moocs-and-open-education-timeline-updated.