ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง การย่อยอาหารและ การสลายสารอาหารระดับเซลล์ที่มีต่อแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และกรอบความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

สุปราณี ติงสะ
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
สุจินต์ วิศวธีรานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน และ 2) เปรียบเทียบกรอบความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินกรอบความคิด แบบบันทึกหลังสอน แบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยกรอบความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนิตา รุ่งเรือง และเสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต:แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วิทยาการวิจัย และวิทยาการปัญญา, 14(1), 1-12.

ชัชวาล ศิลปกิจ, อรวรรณ ศิลปกิจ และรสสุคนธ์ ชมชื่น. (2558). ความตรงของแบบวัดชุดความคิด. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(3), 166-174.

ชาตรี ฝ่ายคำตา และภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 29(2), 86-99.

โชติภรณ์ ลีเวียงและไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถใน การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 17(น.963-974). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธณัฏฐา คงทน, บุญนาค สุขุมเมฆ และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาแนวคิดเรื่องเคมีอินทรีย์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 62-76.

ธนะดี สุริยะจันทร์หอม และอารยา ปิยะกุล. (2561). ผลการใช้รูปแบบ SPASA เพื่อเสริมสร้างโกร์ธมายด์เซตสำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 56-63.

ธนารัตน์ สังฆะมณี และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2559). การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 39(น.96-102). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

นิภาภรณ์ จันทะโยธา และสุวัตร นานันท์. (2558). การพัฒนาวิถีทางมโนมติวิทยาศาสตร์และการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ของแข็ง ของเหลว และแก๊สของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34(น.1977-1985). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พวงชมพู โจนส์. (2559). การสร้างกระบวนการทางความคิด (Mindset) สำหรับบุคลากรในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 1-9.

โพธิศักดิ์ โพธิเสน และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2560). ฉันควรพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร?: การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(1), 101-122.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดเรื่องโครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(1), 97-124.

ลัทธวรรณ ศรีวิคำ, คเชนทร์ แดงอุดม และธิติยา บงกชเพชร. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อมโนมติเรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. นเรศวรวิจัย วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ ,12, 1418-1428.

เลิศบุศยา ไทยเจริญ. (2558). การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบเลือกตอบสามระดับ วิชาชีววิทยาของนิสิตฝึกสอน. เข้าถึงจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51315.

วนิดา พูลพันธ์ชู, ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ และศุภชัย ทวี. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการสอนอุปมาอุปไมย เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 133-148.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทางความคิดเพื่อการเติบโต. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 6(1), 52-60.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). อัจฉริยะหรือพรสวรรค์ ไม่สำคัญ...เท่า GROWTH MINDSET. เข้าถึงจาก http://www.cepthailand.org/.

อารยา ควัฒน์กุล, จันทร์พร พรหมมาศ, และภัทรภร ชัยประเสริฐ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีเรื่องสารชีวโมเลกุล ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์, 26(2), 42-55.

Clement, John. (2000). Model based learning as a key research area for science education. INT. J. SCI. EDUC, 22(9), 1041-1053.

Dweck, C. S. (2015). Carol Dweck Revisits the 'Growth Mindset'. Education week, 35(5), 20-24.

Dweck, C. S. (2007). Mindset, The New Psychology of Success. Bangkok: S.Asia Press (1989) Co.,Ltd.

Dweck, C. S. (2007). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House.

Dweck, C. S. (2007). Mindset quiz. Retrieved from http://homepages.math.uic.edu/~bshipley/MindsetQuiz.w.scores.pdf.

Haidar. A.H. (1997). Prospective Chemistry Teacher’ Conception of the Conservation of Matter and

Related Concepts. Journal of Research in Science Teaching, 34(2), 181-197.

Yeager, D. S., & Dweck, C. S. (2012). Mindsets that promote resilience: When students believe that

personal characteristics can be developed. Educational Psychologist, 47(4), 302-314.