ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการอ่านการเขียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน การเขียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูผู้สอนที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หรือ ครูผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ดำเนินการสอนรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา หรือ ครูที่ได้รับการแต่งตั้งให้รับผิดชอบในงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัด จำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified ) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ในภาพรวมเท่ากับ 0.261 โดยด้านการพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI modified = 0.293) 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านการเขียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ประกอบด้วย 6 ด้าน 29 แนวทาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทศ แกล้วกศิกรรม. (2544). หลักการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา Principles of Secondary School Administration. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นฤมล อุตมะโชค. (2559). การจัดทำแนวทางการนิเทศการสอนของ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านกลาง จังหวัดลำพูน (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาพื้นฐานและพัฒนาการศึกษา สาขาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัชราภรณ์ กุณแสงคำ และ สถิรพร เชาว์ชัย. (2563). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 41-51.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2556). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน Formal Education Administration. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลำพูล พานทอง. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาการอ่านการอออกเขียนได้ของผู้เรียนในอำเภอวัดโบสถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ Learning Management. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์.
ศิริรัตน์ แย้มอ่อน. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สาวิตรี เกษณี. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านโดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการประสาทสัมผัสร่วมกับหลักการสอนแบบ 3Rs ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 13-21.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). คู่มือการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development.. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาสยา พรหมศร. (2555). ความต้องการการนิเทศของครูสังคมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่(การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุมาพร ปานโท้. (2562). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูผู้สอน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(2), 438-453.