การศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงในของเหลว ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นัฎฐา มิ่งสุข
แสงกฤช กลั่นบุศย์

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงในของเหลวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจและอธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆกับขนาดของแรงพยุงในของเหลว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบสร้างนวัตกรรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้ แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาในเรื่องนี้มีความซับซ้อน จึงทำให้นักเรียนส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 58 คน ที่ผ่านการเรียนเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงมาแล้ว โดยใช้แบบทดสอบวัดความเข้าใจ ซึ่งเป็นแบบทดสอบ  แบบเลือกตอบและอธิบายเหตุผลประกอบ จำนวน 6 ข้อ จากนั้นวิเคราะห์ผลโดยการจัดกลุ่มคำตอบของนักเรียนตามระดับความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประยุกต์มาจาก Haidar และ Abraham ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเนื้อหาเกี่ยวกับ การอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงพยุงกับความหนาแน่นของวัตถุ ปริมาตรของวัตถุ และความหนาแน่นของของเหลว  คิดเป็นร้อยละ 84.49 , 52.58 และ 46.55 ตามลำดับ จากผลการศึกษานี้สามารถนำไปออกแบบ พัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และเพิ่มความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงในของเหลวได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย หัสดร. (2557). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องแรงพยุงในของเหลว โดยการเรียนรู้แบบลงมือทำ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ไทยรัฐออนไลน์ (2558). รำลึก 20 ปีโศกนาฏกรรมโป๊ะล่ม EP.1 น้ำตานองพรานนก 29 ชีวิตสังเวยความสะเพร่า. เข้าถึงจาก https://www.thairath.co.th/news/local/482310.

ปัทมาพร ณ น่าน. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนแบบสามชั้นวิชาฟิสิกส์. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(1), 198-207.

ภัทรชา สุขสบาย. (2557). ความสามารถในการนำความรู้เรื่องของไหลไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(3), 86-95.

ภัสสร สอนพิมพ์พ่อ. (2557). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชา ฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วาสนา เพียรสุทธิ. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นตอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์วิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร, 6, 479-489.

สุระ วุฒิพรหม. (2556). การเปรียบเทียบรูปแบบการสอนระหว่างวิดีโอเทปกับการทดลองแบบสาธิตเพื่อพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงลอยตัว. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 4(1), 8-16.

สุดารัตน์ พุมนวล. (2561). การพัฒนาความเข้าใจเรื่องการสะท้อนแสงบนกระจกราบโดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์เล่ม 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Haidar, A. H. (1997). Prospective chemistry Teachers’ Conception of Conservation of Matter and Related Concept. Journal of Research in Science Teaching, 34(4), 181-197.

Jelena Radovanovic, Josip Slisko. (2012). Approximate Value of Buoyant Force: A Water-Filled Balloon Demonstration. The Physics Teacher, 50,428-429.

Hewitt. Paul G. (2015). Conceptual Physics. 12th ed. United states of America: Courier Kendallville.

Suat Unal .(2008). Changing Students ‘Misconceptions of Floating and Sinking Using Hand-On Activities. Journal of Baltic Science Education, 7(3), 134-146.

Wanner, DJ. , Cohen, S. and Moyer, A. (2010). Addressing Student Difficulties with Buoyancy. The Physics Teacher, 48(2), 338-341.