ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย ร่วมกับชุดการเรียนรู้ เรื่อง แรงกระทำต่อลวดตัวนำในสนามแม่เหล็กกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เอกพล รัตนฉายา
นครินทร์ พัฒนบุญมี
แสงกฤช กลั่นบุศย์
นฤมล เอมะรัตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนเรื่องแรงกระทำต่อลวดตัวนำในสนามแม่เหล็กผ่านการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบายร่วมกับชุดการเรียนรู้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความเข้าใจ และชุดทดลอง ซึ่งติดตั้งโดยให้ลวดตัวนำอยู่ระหว่างกลางของแท่งแม่เหล็กสองแท่ง ต่อลวดกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แล้วสังเกตการขยับของลวดตัวนำที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเปลี่ยนระยะห่างของแท่งแม่เหล็ก และมุมของลวดตัวนำ แล้วนำไปใช้กับกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เปรียบเทียบกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 33 คน ผลที่ได้พบว่าความเข้าใจที่ถูกต้องของนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำต่อลวดตัวนำกับระยะห่างแท่งแม่เหล็กคิดเป็นร้อยละ 6.1 และ 76.7 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำต่อลวดตัวนำกับความยาวลวด และมุมลวดตัวนำกับสนามแม่เหล็กคิดเป็นร้อยละ 6.1 และ 80.0 ตามลำดับ ซึ่งพบว่านักเรียนกลุ่มทดลองมีร้อยละความเข้าใจที่ถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้    แบบทำนาย-สังเกต-อธิบายร่วมกับการใช้ชุดการเรียนรู้สามารถพัฒนาความเข้าใจที่ถูกต้องของนักเรียนเกี่ยวกับแรงกระทำต่อลวดตัวนำในสนามแม่เหล็กได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร ทานะเวช. (2557). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สนามของแรงแม่เหล็ก-ไฟฟ้า โดยใช้กิจกรรมการทดลองอย่างง่ายร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

จิราภรณ์ ปุณยวัจน์พรกุล และวิไลพร ลักษมีวาณิชย์. (2562). SU Model : การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วิดีโออัตราเร็วสูงกรณีศึกษาการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30, 71-84.

ชาญชัย ทำสะอาด. (2553). การพัฒนาอุปกรณ์สาธิตอย่างง่ายสำหรับศึกษาปรากฎการณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็ก (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ชนิกา สูงสันเขต และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2560). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และวิถีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบประสาท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีการนำเสนอตัวแทนความคิดที่หลากหลาย. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่17 (น.82-92). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธีรวัฒน์ ดวงสิน. (2559). การพัฒนาความเข้าใจ เรื่อง ไฟฟ้าและแม่เหล็ก ด้วยกิจกรรมการทดลองร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

น้ำค้าง จันเสริม. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องงานและพลังงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้วิธี Predict-Observe-Explan (POE) (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยะ เกียนประโคน. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนต์แม่เหล็กคู่ควบโดยใช้ชุดทดลองแกลแวนอมิเตอร์อย่างง่าย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปทุม ช่องคันปอน. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน เรื่อง พลังงานนิวเคลียร์ โดยการจัดการเรียนรู้ 4 MAT ร่วมกับผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พนิตานันท์ วิเศษแก้ว. (2553). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบ Predict-Observe-Explain (POE) (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล. (2548). การพัฒนาชุดทดลองเรื่องการเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มะลิวัลย์ ทรัพย์คาจันทร์,หนูกร ปฐมพรรษ และพัดตาวัน นาใจแก้ว. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ของไดรเวอร์และเบลล์เสริมด้วยเทคนิคการใช้คาถามต่อความเข้าใจมโนมติสารละลายกรด-เบส และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3. (น.842-853). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

ยศธร บรรเทิง. (2556). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่องของไหลสถิตโดยใช้วิธีการสอนแบบ Predict-Observe-Explain (POE) (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สมสมัย จิรพัทธ์พงศกร. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.

สุทธิดา รักกะเปา. (2557). การเพิ่มความเข้าใจแนวคิดรวบยอดเรื่องกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันของนักเรียน/นักศึกษาโดยวิธีการเรียนการสอนแบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อามีเนาะ ตารีตา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับกลวิธี POE ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์.

Haidar, A.H. (1997). Prospective Chemistry Teachers’ Conception of Conservation of Matter and Related Concept. Journal of Research in Science Teaching, 3, 181-197.