มโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเหนี่ยวนำไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จักรพงษ์ กิตติพงศ์ธนกิจ
นครินทร์ พัฒนบุญมี
แสงกฤช กลั่นบุศย์
นฤมล เอมะรัตต์

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและการสร้างสายดิน แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาในเรื่องนี้มีความซับซ้อนและค่อนข้างที่เป็นนามธรรม ทำให้นักเรียนเกิดมโนมติที่คลาดเคลื่อน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบทดสอบวัดมโนมติที่เกี่ยวกับเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้าบนตัวทำทรงกลมและอิเล็กโทรสโคป ซึ่งแบบทดสอบวัดมโนมติที่ออกแบบขึ้น    มีจำนวน 3 ข้อ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหา 4 ประเด็นคือ การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดการเหนี่ยวนำ การเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดการเหนี่ยวนำในอิเล็กโทรสโคป ผลของการต่อสายดินในอิเล็กโทรสโคปที่ถูกเหนี่ยวนำ และผลของการถอดสายดินและวัตถุเหนี่ยวนำออกจากอิเล็กโทรสโคปที่ถูกเหนี่ยวนำ จากนั้นนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 44 คน ที่ผ่านการเรียนเรื่องการเหนี่ยวนำไฟฟ้ามาแล้ว จากนั้นวิเคราะห์ผลโดยการจัดกลุ่มคำตอบตามระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งประยุกต์มาจาก Haidar (1997) พบว่ามีนักเรียนที่มีความเข้าใจถูกต้องสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 24.3 โดยเฉลี่ย และมีนักเรียนที่มีระดับมโนมติที่คลาดเคลื่อน คิดเป็นร้อยละ 42.9 โดยส่วนใหญ่นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนใน 2 เรื่อง คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ในอิเล็กโทรสโคป คือ ประจุบวก คิดเป็นร้อยละ 86.4 และหลังจากต่อสายดินอิเล็กโทรสโคปจะเป็นกลางทางไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 84.1 จากผลการศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนามโนมติที่คลาดเคลื่อนของนักเรียนให้เกิดมโนมติที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์และเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์ในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทนา เชาว์ปรีชา. (2533). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริณดา ลิมปานนท์. (2547). การศึกษาการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูตามกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไอนิง เจ๊ะเหลาะ, อนุมัติ เดชนะ และสธน เสนาสวัสดิ. (2555). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2, 1-11.

ภัสสร สอนพิมพ์พ่อ และโชคชัย ธนเฮือง. (2557). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ ทำนาย-สังเกต-อธิบาย. ใน การประชุมวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (น.2603). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนต์ชัย สิทธิ์จันทร์. (2547). ผลของการฝึกจินตนาการในการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการจินตนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรการสอน และเทคโนโลยีการศึกษา สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Bilal, E. and Erol, M. (2009). Investigating Students’ Conception of Some Electricity Concepts. Latin-American Journal of Physics Education, 3, 193-201.

Calilot, M. and Xuan, A.N. (1993). Adults’ Misconception in Electricity. Paper Presented at the Third International Seminar on Misconceptions and Educational Strategies in Science and Mathematics. Ithaca. NY: Misconceptions Trust.

French, A.P. (1998). The Nature of Physics [online]. Retrieved from http://www.physics.ohio- state.edu/

jossem/ICPE/B1.html.

Guruswamy, C., Somers, M.D. and Hussey R.G. (1996). Students’ Understanding of the Transfer of Charge between Conductors. Physics Education, 32, 91-96.

Haidar, A.H. (1997). Prospective Chemistry Teachers’ Conception of Conservation of Matter and Related Concept. Journal of Research in Science Teaching, 34, 181-197.

Knight, R.D. (2015). Physics for Scientists and Engineers: a Strategic Approach with Modern Physics. California Polytechnic State University: Pearson Addison Wesley.

Magnusson, S. and Palincsar, A. (1995). Learning Environments as a Site of Science Education Reform: An Illustration Using Interdisciplinary Guided Inquiry. Theory into Practice, 34, 1-8.

Moynihan, R. (2018). Developing and Assessing Student’s Conceptual Understanding of Electrostatics in Upper Secondary Physics. Ireland: Dublin City University.

Ndeleni, Z. (2017). Teaching Electrostatics in Grade 11 Physical Science Using a Conceptual Change Approach. Cape Town South Africa: University of the western cape.

Sarikaya, M. (2007). Prospective Teachers’ Misconceptions About the Atomic Structure in the Context of Electrification by Friction and an Activity in Order to Remedy Them. International Education Journal, 8, 40-63.

Stefeniou, C.G., Tsalapati, K.D., Ferentiou, A.M. and Skordoulis, C.D. (2019). Conceptual Difficulties Pre-Service Primary Teachers Have with Static Electricity. Journal of Baltic Science Education, 18, 300–313.